
อาหารเสริมมีรสหวาน…ทานแล้วอ้วนไหมนะ?
คนรักสุขภาพหลายคนที่นิยมทานอาหารเสริมเพื่อดูแลตัวเอง ก็อาจมีความกังวลว่า การทานอาหารเสริมที่มีรสชาติหวานอร่อยเป็นประจำ จะทำให้อ้วนขึ้นหรือไม่
ทำให้คนที่ กลัวอ้วน หลายคนก็ลังเลที่จะเลือกทานอาหารเสริม เพื่อตอบคำถามนี้ ก่อนอื่นเราต้องทำความรู้จักกับ Non-caloric sweetener ซึ่งมักถูกนำมาใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล
ในกรณีที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรืออาหารที่เราปรุงในชีวิตประจำวัน เช่น กาแฟ อาหารปรุงสุกทั่วไป หรือเครื่องดื่มไม่มีพลังงาน
เหมาะสำหรับคนที่จำเป็นต้องลดพลังงานจากน้ำตาลในร่างกาย เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล หรือคนที่ต้องการลดความอ้วน
ในปัจจุบันสารให้ความหวานยังใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มคนรักสุขภาพ คนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและดูแลรูปร่างอีกด้วย เพราะใครๆก็อยากจะลดน้ำหนัก
ซึ่งการควบคุมน้ำหนักจะต้องลดการทานหวาน ลดทานน้ำตาล แล้วจะทำยังไงดีล่ะในเมื่อเรายังชอบรสหวานอยู่
จึงทำให้เกิดการผลิตสารให้ความหวานขึ้นมาทดแทนน้ำตาลจริงๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนที่ติดความหวานโดยการสังเคราะห์ทางเคมี
หรือทดแทนด้วยสมุนไพรจากธรรมชาติ เราจำแนกสารให้ความหวานที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และได้รับความนิยมกันอยู่ในปัจจุบันได้ดังนี้
-
แอสปาแตม
เป็นน้ำตาลเทียมที่ทำจากสารเคมีเป็นส่วนใหญ่ ให้ความหวานกว่าน้ำตาลธรรมชาติถึง 200 เท่า มีรสชาติใกล้เคียงกับน้ำตาลทราย แต่จะทิ้งรสขมเล็กน้อยหลังจากทาน
ทั้งยังไม่ทำให้เกิดภาวะฟันผุและไม่กระตุ้นน้ำตาลในเลือดสูง จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในเครื่องดื่มน้ำอัดลมและคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อาหารและยาที่มีแอสปาแตมเป็นส่วนประกอบมากถึงกว่า 6,000 ชนิดทั่วโลก
สามารถใช้แทนความหวานให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานได้เพราะตัวแอสปาแตมไม่มีพลังงานจึงไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น แต่มีข้อเสียเพราะโครงสารของแอสปาแตมจะเปลี่ยนไปเมื่อโดนความร้อนสูงและเมื่อเก็บไว้นาน
จึงไม่ควรใช้แอสปาแตมปรุงอาหารที่ตั้งไฟร้อนๆและไม่ควรเก็บไว้นาน ถึงแม้ว่าจะแอสปาแตมจะให้พลังงานน้อยมาก แต่มีงานวิจัยเชื่อมโยงแอสปาแตมเข้ากับอาการปวดไมเกรนในผู้ใช้บางคน
และความเป็นสารเคมีเมื่อบริโภคไปนานๆอาจให้ผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ นอกจากนี้ยังมีผลจากงานวิจัยบางตัวเชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็งและการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมได้ถ้าทานในระหว่างตั้งครรต์
แต่อย่างไรก็ตามอะไรที่มากเกินไปก็ไม่ดีทั้งนั้น เอาเป็นว่ารับประทานอย่างมีสติและใช้อย่างพอดี ไม่พึ่งพามากจนเกินไปก็ไม่เกิดผลเสีย
-
ซูคราโลส
มีผสมในสารทดแทนความหวานหลายชนิดหลายยี่ห้อ เป็นสารให้ความหวานที่ไม่มีพลังงานเพราะใช้ปริมาณน้อยมาก 1 ส่วนของซูคราโลสให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายขาวประมาณ 600 เท่า
ดังนั้นถ้าชงกาแฟ 1 ถ้วยใช้น้ำตาลทรายขาว 2 ช้อนชา ก็จะให้ความหวานเท่ากับซูคราโลส 0.00333 ช้อนชา (เทียบเท่าน้ำตาลทรายขาวเพียง 5 เม็ดเท่านั้นเอง)
ซูคราโลสเป็นสารให้ความหวานที่ปลอดภัยถึงแม้จะเป็นเคมีแต่ก็เป็นเคมีที่ไม่มีสารตกค้างสะสมในร่างกายเนื่องจากขบวนการผลิตนั้นองค์การอนามัยโลกยอมรับเป็นทางการแล้วว่ามีความปลอดภัยเทียบเท่าน้ำตาลจากธรรมชาติ
เดี๋ยวนี้น้ำอัดลมบางยี่ห้อก็ใช้ความหวานจากซูคราโลส ที่โฆษณาว่าดื่มแล้วไม่อ้วน และยังนิยมใช้ซูคราโลสให้ความหวานกับขนม ชา กาแฟที่โฆษณาว่าดื่มเพื่อลดความอ้วนเพื่อสุขภาพด้วย
ข้อดีของซูคราโลส คือให้ความหวานใกล้เคียงกับน้ำตาล อร่อยแต่ไม่มีรสขมติดลิ้นและไม่ให้พลังงาน ละลายน้ำได้ดี ใช้ปรุงอาหารและขนมได้ทุกชนิดที่ต้องใช้ความร้อนสูงโดยไม่สูญเสียความหวาน
ไม่เหมือนน้ำตาลเทียมที่ใส่ได้เฉพาะกาแฟ ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับอินซูลิน ผู้ป่วยเบาหวานสามารถใช้ได้ตามปกติเช่นเดียวกับสารให้ความหวานอื่นๆ ไม่ทำให้ฟันผุเหมือนรับประทานน้ำตาล และเก็บรักษาง่ายเช่นเดียวกับน้ำตาล
การผลิตซูคราโลสทำโดยการเพิ่มคลอรีนเข้าไปในโมเลกุลน้ำตาล ซึ่งกระเพาะของเราอาจไวต่อสิ่งกระตุ้นมากขึ้น นอกจากนี้สิ่งที่ควรระวังเกี่ยวกับสารเพิ่มความหวานซูคราโลสก็คือ คุณธรรมของผู้ผลิต ว่าใช้ซูคราโลสจริงหรือเปล่า?
เพราะมีบางผลิตภัณฑ์ตบตาผู้บริโภคโดยใช้แอสปาแตมแทนความหวาน แต่บอกว่าเป็นซูคราโลสแทนก็มีไม่น้อย เพราะต้นทุนการผลิตซูคราโลสมีต้นทุนสูงทำให้ราคาต่อกิโลกรัมสูงตามไปด้วย ดังนั้นควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือและอ่านฉลากให้ถี่ถ้วนก่อน
-
หญ้าหวาน หรือ Stevia
เป็นสารแทนความหวานที่ดีที่สุดและเป็นธรรมชาติที่สุด จะให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 250-300 เท่า แต่ไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงาน จึงทำให้มีพลังงานน้อยมาก
ความจริงหญ้าหวานถูกใช้เป็นสมุนไพรมาตั้งเกือบ 500 ปีแล้ว แต่เพิ่งจะเอามาใช้เป็นสารทดแทนความหวานกันเมื่อปี 1964
หญ้าหวานจะออกรสหวานช้ากว่าน้ำตาลทรายเล็กน้อยและรสหวานจะจางหายไปช้ากว่าน้ำตาลทราย ข้อดีของหญ้าหวานก็คือสามารถทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียสโดยไม่สลายตัว
ดังนั้นนอกจากจะใช้ใส่ในเครื่องดื่มแล้วยังสามารถเอามาทดแทนน้ำตาลในการปรุงอาหาร ที่ต้องผ่านการหุงต้มได้อีกหลายอีกชนิด ซึ่งชนชาติญี่ปุ่นและเกาหลีก็ใช้กันมานาน
ทั้งในการหมักเนื้อ หมักปลา หมักผักดอง เครื่องดื่ม ก็ใช้หญ้าเป็นสารทดแทนความหวานรวมไปถึงยาสีฟันที่ลดอาการฟันผุได้ด้วย
โดยสรุปแล้วหญ้าหวานน่าจะเป็นสารทดแทนความหวานที่ปลอดภัย และยังไม่มีรายงานข้อแทรกซ้อนจากการใช้ และได้ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)
อนุญาตให้นำสารสกัด stevioside มาขึ้นทะเบียนเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลได้ แต่อาจจะหาซื้อยากซักหน่อย
-
น้ำตาลแอลกอฮอล์
ไซลิทอล เป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ธรรมชาติชนิดหนึ่ง พบได้ในพืชผักหลายชนิด เป็นน้ำตาลที่เชื้อแบคทีเรียไม่สามารถย่อยสลายให้เกิดสภาวะกรดในช่องปากได้
จึงไม่เป็นสาเหตุให้เกิดฟันผุ ลดการเกิดหินปูน ไซลิทอลมีพลังงานแค่ 40%ของน้ำตาลจึงช่วยลดความอ้วนได้
-
เอสซัลเฟม เค (Acesulfame K)
เป็นน้ำตาลที่มีค่าความหวานสูงกว่าน้ำตาลทราย 200 เท่าและไม่ให้พลังงาน จึงมีความปลอดภัยสูงต่อผู้บริโภค จากคุณสมบัตินี้ Acesulfame K จึงอาจเป็นสารสังเคราะห์ที่ให้รสหวานอีกชนิดหนึ่งที่นิยมแพร่หลายในอนาคตได้
สำหรับสารให้ความหวานที่คนไทยรู้จักกันดีและควรระวัง คือ ขัณฑสกรณ์ (saccharin) นั้น ไม่จัดเป็น food additive เนื่องจากเป็นสารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร
เพราะมีรายงานว่าก่อให้เกิดการเหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง แต่คนไทยนิยมนำมาใช้ในการดองผลไม้ เพราะใช้น้อยกว่าน้ำตาลมาก เมื่อเราบริโภคเข้าไปเรามักจะรู้สึกว่า หวานติดลิ้นนาน และกระหายน้ำ
คำแนะนำการใช้สารทดแทนความหวาน
- ถ้าอยากดื่มน้ำอัดลม ? เลือกดื่มสูตรไม่มีน้ำตาลแทน เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป แต่หากอยากดื่มสูตรปกติ แนะนำให้ควบคุมปริมาณ เช่น ไม่เกิน 2 กระป๋อง/สัปดาห์
- ถ้าอยากกินอะไรหวาน ๆ ลองกินผลไม้สดแทนบ้าง
- บางครั้งของหวานก็ไม่ได้เป็นศัตรูที่น่ากลัวต่อสุขภาพกายเสมอไป หากเราเรียนรู้ที่จะบริโภคอย่างพอดี กินตอนที่อยากกินจริงๆ แต่ไม่ปล่อยให้ความหวานอร่อยล่อลวงให้เรากินจนหมด ก็ถือว่าดีต่อสุขภาพกายและใจอย่างเหมาะสมที่สุด
- การติดรสชาติหวาน เป็นสิ่งที่ตรวจวัดประเมินได้ยาก ควรใช้การรู้ตัวและสังเกตตนเองในเบื้องต้น ว่าเราบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีความหวานบ่อยหรือมากเกินไปไหม ถ้าใช่ก็ต้องยอมรับตัวเองก่อน แล้วค่อยหาวิธีในการลดปริมาณการกินลง
วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลแม้จะดูว่ามีประโยชน์และนำมาใช้แทนที่น้ำตาล เพื่อลดพลังงาน และในผู้ป่วยที่ต้องจำกัดการบริโภคน้ำตาล แต่การบริโภคในปริมาณมากเกินไปก็ไม่ดี
เพราะวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลบางชนิดนั้นไม่มีคุณค่าทางโภชนาการเลย โดยเฉพาะผู้บริโภคทั่วๆไปการใช้วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลจึงไม่ใช่ความจำเป็น แต่เป็นเพียงทางเลือกเท่านั้น
ดังนั้นถ้าต้องการมีสุขภาพกายสุขภาพใจที่ดี ควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่พอเหมาะ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้แจ่มใส และพักผ่อนให้เพียงพอ เพียงเท่านี้ท่านก็จะมีสุขภาพกายสุขภาพใจที่ดี รูปร่างสมส่วนแล้ว
โดยผู้ที่เลือกทานอาหารเสริม Nutrunal ของบริษัทซัคเซสมอร์ ที่รสชาติมีรสหวานเล็กน้อย เพื่อช่วยให้รับประทานได้ง่าย ตัวอย่างเช่น อาหารเสริมสเต็มเซลล์ Sitems ที่อยู่ในรูปแบบผง อมละลายใต้ลิ้น ซึ่งมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว
นั่นเป็นเพราะมีส่วนผสมของอะเซซิลเฟม-เค (Acesulfame-K) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลและ ซูคราโลส(Sucralose) ที่เป็นสารให้ความหวานอีกตัวนึงที่ไม่ให้พลังงาน
สังเกตได้ว่าผลิตภัณฑ์ Nutrinal ทุกชนิดของซัคเซสมอร์ จะใช้สารเติมเต็มเพื่อเพิ่มความหวานเพียงแค่ 2 ชนิดในสัดส่วนที่เหมาะสมเท่านั้นคือ ซูคราโลส และ Acesulfame K
เพราะได้ผ่านการคัดสรรอย่างดีโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ (นพ.สิทธวีร์ เกียรติชวนันท์) ดังนั้นจึงหมดกังวลเรื่องอ้วนหรือน้ำตาลในเลือดจากการทานอาหารเสริมของซัคเซสมอร์ได้เลย
- สินค้าในกลุ่มอาหารเสริม Nutrinal
- คนอายุ 20 – 30 ปี ควรทาน “อาหารเสริม” แบบไหนดีนะ?
- 5 อาหารเสริม ‘ต้านมะเร็ง’ ที่คุณควรทานเป็นประจำ