FAQ, เกษตรปลอดสารเคมีรุ่ง

ผักปลอดสารพิษ แนวทางเกษตรสุดรุ่ง!!

%e0%b8%9c%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%a9-non-chemical

ผักปลอดสารพิษ…เกษตรปลอดสารเคมี

   เดี๋ยวนี้ผู้บริโภคยุคใหม่ หันมาใส่ใจในเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น โดยเฉพาะกระแสอาหารการกินเพื่อสุขภาพ และปลอดสารเคมี

สาเหตุจากการที่องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่งได้ร่วมกันให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆถึงเรื่องอันตรายที่มาจากการบริโภคอาหารที่ผลิตจากการเกษตรแบบเดิมๆ เชิงการค้า ที่มุ่งเน้นเรื่องปริมาณผลผลิตและผลกำไรเป็นหลัก

ในรอบหลายปีที่ผ่านมานั้นบ้านเรามีการนำเข้าและใช้สารเคมีเป็นจำนวนมหาศาลในการเพาะปลูกพืช โดยเฉพาะพืชที่ไม่ค่อยต้านทานต่อโรคและแมลงที่รุมเร้าหนักๆ จำเป็นต้องเอาให้อยู่

เช่น แตงโม,องุ่น,ส้ม,มะนาว,ผักต่างๆ เพื่อให้ผลผลิตสวยงาม สีสันน่ากิน และทันกับความต้องการบริโภคของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว…

เกษตรกรไทยใช้ ‘สารเคมี’ กันมากแค่ไหน?

จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตรที่มีการรวบรวมตั้งแต่ปี2553-2558 ระบุว่า  “ประเทศไทยนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสูงที่สุดในกลุ่มประเทศ AEC ทีเดียว” รวมปริมาณวัตถุอันตรายทางการเกษตรทั้งหมดมีจำนวนสูงถึง 134,377 ตัน มูลค่า 19,357 ล้านบาท

จึงได้มีการ “ระดมพลังร่วมกันยกเลิกสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอันตราย” ที่จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ(สสส)ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา

ทุกครั้งที่ฉีดพ่นสารเคมี..ใครได้กันแน่ ?

ทราบมั๊ยครับว่า การฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชครั้งหนึ่งๆ ในจำนวน 100 กก. ฉีดถูกตัวแมลงเพียง 1 กก. ส่วน 99 กก.ปลิวกระจายในอากาศ รัศมีประมาณ 30 กม. ระเหยในอากาศ 10 กก. ตกค้างอยู่ในดินและน้ำถึง 41 กก.

ที่น่าเป็นห่วงคือเกษตรกรผู้ฉีดพ่นจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายจำนวนมาก ส่วนลูกหลานเกษตรกรเองก็มักมีปัญหาสุขภาพตั้งแต่แรกเกิดเนื่องจากมีการถ่ายทอดสารพิษจากแม่สู่ลูกได้

สารเคมีที่มีอันตรายสูงบางชนิด(แถบสีแดง)เช่น คาร์โบฟูราน ไดโครโตฟอส อีพีเอ็น และเมโทมิล ในต่างประเทศได้ยกเลิกการใช้แล้วโดยเฉพาะ3ตัวแรกที่เป็นกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตซึ่งมีฤทธิ์ตกค้างยาวนาน

แต่ยังคงมีจำหน่ายในประเทศไทยซึ่งน่าเป็นห่วง เนื่องจากสะดวกสบาย เป็นยาแรง ได้ผลรวดเร็ว แมลงศัตรูพืชตายเรียบ(รวมทั้งตัวห้ำ ตัวเบียนที่เป็นแมลงมีประโยชน์ด้วย)

เมื่อกระแสรักสุขภาพมาแรงจึงทำให้แนวโน้มการทำธุรกิจ และตลาดเกษตรปลอดสารเคมี ผักไฮโดรโปนิกส์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น กลายเป็นธุรกิจที่น่าสนใจในปัจจุบันและอนาคต

แน่นอนว่าการทำเกษตรปลอดสารจะช่วยลดปัญหาเรื่องสารพิษที่ตกค้างในผลผลิตเกษตร ทั้งยังทำให้การส่งออกง่ายขึ้นเพราะผ่านมาตรการควบคุมของประเทศคู่ค้า

สินค้าเกษตรปลอดสารในปัจจุบันจึงมีความต้องการสูง และถ้ามีการบรรจุหีบห่อที่ดีด้วย ก็จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกด้วย นอกจากจะส่งผลทางด้านความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภคแล้ว ยังช่วยลดการนำเข้าวัตถุอันตรายที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปีด้วย

ผักปลอดสารพิษ

ความสำเร็จของเกษตรแนวหน้า 

ในอเมริกามีเกษตรกรทำการเกษตรแบบผสมผสานที่เรียกว่า Aquaponics เป็นการเกษตรที่รวมการเลี้ยงปลาหรือ Aquaculture เข้ากับการปลูกผักที่ไม่ต้องใช้ดินหรือที่เรียกกันว่า Hydroponics

โดยปลาจะช่วยสร้างอาหารแก่ผักที่ปลูก และผักไฮโดรโปนิกส์ก็จะทำหน้าที่กรองน้ำให้กับปลาโดยผักจะลอยอยู่เหนือน้ำ สวนผักลอยน้ำในกรีนเฮาส์เล็กๆนี้ให้ผลผลิตผักตั้งแต่ 5-10 กก. ต่อสัปดาห์ ให้ผลผลิตปลาถึง 250 กก.ต่อปี

ในประเทศเราก็เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเกษตรแบบยั่งยืน โดยไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีการให้ความรู้กับเกษตรกรให้หันมาทำการเกษตรปลอดสาร ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีสุขภาพและฐานะที่ดีขึ้น

      อีกหนึ่งตัวอย่างของธนาคารซอฟท์แวร์ (SoftBankThai)พลิกธุรกิจเกษตรสู่รายได้ 100 ล้านบาทของคุณโซโอกะ ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยเมื่อ 20 ปีก่อน ในตำแหน่งประธานบริษัทผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ก่อนที่จะผันตัวเองเป็นเกษตรกร หลังจากทำงานได้แค่ 5 ปี

เขาไม่มีความรู้ทางด้านเกษตรเลยแต่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม จึงพยายามเรียนรู้ด้วยตนเองและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เริ่มทำออร์แกนิคฟาร์ม ด้วยพื้นที่ 50 ไร่ ที่เขาใหญ่ ใช้เวลา 1 ปีในการปรับปรุงดินเพื่อให้เป็นดินธรรมชาติและปลอดภัย

โดยเริ่มปลูกผักโมโรเฮยะ(ผักเพื่อสุขภาพ)ที่มีสารอาหารมากกว่าผักชนิดอื่น 5-6 เท่า  ต่อมาก็ขยายปลูกชาสมุนไพรออแกนิกส์ กลายเป็นแปลงปลูกผัก 40 ชนิด ผลไม้ 15 ชนิด และสมุนไพร 15 ชนิดที่ช่วยป้องกันแมลง

โซโอกะทำการตลาดด้วยการขายตรงให้กับห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ต ส่งผักสดๆ ที่เป็น ‘ผักปลอดสาร’ จากฟาร์มให้กับผู้บริโภคจนเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้ามาก

เกิดกระแสปากต่อปาก มีลูกค้าทั้งที่เป็นชาวไทย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันสามารถส่งออกไปกว่า 10 ประเทศ มีรายได้เฉียดปีละ 100 ล้านบาท

      แต่สิ่งหนึ่งของเกษตรปลอดสารพิษที่ต้องตระหนักคือ ในสภาพพื้นที่เพาะปลูกเดิมๆมันก็จะมีระบบนิเวศน์เดิมที่เคยเพาะปลูกอยู่ จึงต้องคำนึงถึงว่าเพาะปลูกอะไร ทำการเกษตรแนวไหนมาก่อน? สภาพพื้นที่เป็นอย่างไรบ้าง?

เพราะบางกรณีเมื่อปรับตัวมาทำเกษตรปลอดสารพิษจากพื้นที่เดิมที่เคยทำเกษตรแบบเดิมเชิงการค้า มีการโหมใช้ปุ๋ยใช้ยาจนสิ่งแวดล้อม และนิเวศน์เปลี่ยนไปมาก ห

ากเรากระโดดเข้ามาทำปลอดสารพิษแบบเต็มตัว 100% โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็เลือนลางเช่นกัน

และนี่จึงเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาความน่าเชื่อถือของคำว่า “ปลอดสาร” ที่ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์พืชผัก ซึ่งหากผ่านระบบการตรวจสอบน่าเชื่อถือคงไม่น่าหนักใจนัก  แต่จากข้อมูลพบว่าเรายังมีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับสารพิษตกค้างในผักที่ซื้อในตลาดหรือซุปเปอร์มาร์เก็ตอยู่

แม้ว่าในบรรจุภัณฑ์ที่มีถ้อยคำรับรองความปลอดภัยก็ตาม ซึ่งตามกลไกตลาดและรูปแบบการปลูกเพื่อการค้า ต้องมีจำนวนผลผลิตที่พอเพียงเพื่อป้อนสู่ตลาด สารเคมีตกค้างเหล่านี้เกิดได้จาก

  • การเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนระยะเก็บเกี่ยว ทำให้สารเคมียังสลายตัวไม่หมด
  • การใช้สารกำจัดแมลงในปริมาณมากเกินความจำเป็นหรือใช้อัดร่วมกันหลายชนิด

     การปลูก ‘ผักปลอดสารพิษ’ หรือเกษตรปลอดสารพิษ ยังคงเป็นทางเลือกที่เราจะรักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เกิดโทษภัยแก่มนุษย์

หากเราเริ่มที่จะทำเกษตรปลอดสารเคมีอย่างได้มาตรฐานจริงจังตั้งแต่วันนี้ ตลาดส่งออกจำนวนมหาศาลในหลายๆประเทศกำลังรอเราอยู่ครับ

เพิ่มผลผลิตให้กับพืชผักผลไม้ ด้วยปุ๋ยน้ำคุณภาพเยี่ยม Transform

>> อาหารพืช ทรานส์ฟอร์มสูตร 1,2 <<
>> ทรานส์ฟอร์มดีกว่าปุ๋ยน้ำทั่วไปอย่างไร <<
>> เกษตรอินทรีย์ ดีจริงหรือ? <<

error: do not copy content!!