
แม้ว่าการนอนหลับจะเป็นการพักผ่อนร่างกายที่ดีที่สุด แต่ปัญหาจากการนอนที่ผิดปกตินั้น อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่เป็นอันตรายได้ ขอยกตัวอย่างสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ”
โดยเป็นภาวะที่สืบเนื่องมาจากการนอนหลับไม่สนิท นอนกรน จนนำมาซึ่งการหายใจผิดปกติขณะนอนหลับ และถือเป็นอาการของการนอนหลับผิดปกติ (Sleep Disorders)
1. อายุมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อตรงคอที่หลอดลมเริ่มหย่อนยาน ส่วนใหญ่จะเกิดตอนช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
2. อ้วน หรือ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเร็ว ยิ่งมีน้ำหนักมากก็มีโอกาสเกิดหรือมีได้สูงกว่า
3. โครงสร้างของใบหน้า โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเรื่องคอสั้น หน้าสั้น ที่พบได้บ่อยในคนเอเชีย โดยจะมีโครงสร้างที่จะทำให้ช่องทางเดินหายใจส่วนบนแคบ และยิ่งทำให้เกิด ‘ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ’ ได้ง่ายขึ้น
4. ขาดการออกกำลังกาย ยิ่งถ้าออกกำลังน้อยลง ก็จะยิ่งทำให้กล้ามเนื้อส่วนนี้หย่อนมากขึ้น
5. หลับไม่เต็มอิ่ม และมีอาการนอนกรน โดยเฉพาะคนที่นอนกรนเสียงดังมาก จนรบกวนคนข้างเคียง แต่สิ่งที่ควรรู้คือ คนนอนกรนทุกคน ไม่จำเป็นต้องมีอาการหยุดหายใจขณะหลับ
เพียงแต่คนนอนกรนมีโอกาสหลับไม่เต็มอิ่มมากกว่าคนที่ไม่นอนกรน ตัวอย่างเช่น กลุ่มคนที่เป็นภูมิแพ้ ไซนัส ทอนซิลโต ก็จะนอนกรนแต่ไม่ได้มีปัญหาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ
สิ่งสำคัญคือ การนอนหลับแบบไม่มีคุณภาพหรือนอนไม่เต็มอิ่มต่างหากที่จะส่งผลต่อการเกิด “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ” ได้มากที่สุด เราจึงควรสังเกตุสัญญาณเตือนที่จะบ่งชี้ว่าเรามีปัญหาในการนอน
- ไม่สดชื่นตอนตื่นเช้า แม้ว่านอนหลับเพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชม.แล้ว
- มักจะง่วงตอนสายๆโดยเฉพาะหลังทานข้าวเที่ยง
- ประสิทธิภาพความคิด ความจำลดลง หลงลืมง่าย
เริ่มจากผู้ที่นอนกรนจะหยุดกรนไปชั่วขณะหนึ่ง ช่วงนั้นเองที่มีการหยุดหายใจ และเมื่อระดับออกซิเจนในเลือดลดลงจนถึงระดับหนึ่ง ร่างกายก็จะมีกลไกตอบสนองโดยการทำให้ตื่นขึ้น (เพื่อขัดขวางการหลับและหยุดหายใจนั้น)
ซึ่งจะมีอาการเหมือนสะดุ้งเฮือก หรือ สำลักน้ำลายตนเอง จากนั้นก็จะกลับมาเริ่มหยุดหายใจใหม่
ในการวินิจฉัยหาสาเหตุของการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับอย่างถูกต้องนั้น สามารถทำได้โดยการทำ สลีปแล็บ (Sleep Lab) ซึ่งเป็นการตรวจโดยใช้อุปกรณ์วัดในช่วงเวลาการนอน
เพื่อตรวจดูความผิดปกติต่างๆ เช่น มีปัญหาเรื่องการกรนหรือไม่ ระดับออกซิเจนตกลงหรือไม่ ฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้ “Sleep Lab” จะประกอบด้วย การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ใต้คางและขา
การกลอกลูกตา คลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด การตรวจวัดลมหายใจทางปากและจมูก ร่วมกับความสามารถของกล้ามเนื้อหน้าอกและท้องที่ใช้ในการหายใจ ซึ่งสามารถตรวจได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ในรายที่ตรวจแล้วพบว่ามีอัตราการหยุดหายใจมากระดับหนึ่ง อาจจะต้องรับการรักษาโดยการใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน หรือ CPAP
เพื่อช่วยเปิดทางเดินหายใจและบรรเทาอาการหยุดหายใจขณะหลับ รวมทั้งอาการนอนกรน แต่ข้อเสียคือ จะต้องใช้เครื่อง CPAP ทุกคืน หากคืนใดไม่ได้ใช้ ก็จะมีอาการกรน หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ได้อีก
ดังนั้นเมื่อได้รู้ถึงความสำคัญของการนอนหลับอย่างมีคุณภาพแล้ว ก็ควรใส่ใจในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ จะทำให้ร่างกายของเราไม่สดชื่น
นำมาซึ่งภาวะด้อยในเรื่องของประสิทธิภาพความคิด ความจำ การตัดสินใจ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
หรือส่งผลเสียต่อสุขภาพ อันได้แก่การเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
เพื่อลดโอกาสของการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เราจึงควรใส่ใจการนอนหลับให้มากขึ้น พึงระลึกไว้เสมอว่า ‘การนอนหลับ’ ถือเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด แต่ต้องหลับอย่างมีคุณภาพ ไม่เช่นนั้นแล้วก็จะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพในอนาคตได้
>> รายละเอียด : อาหารเสริมนูทริก้า Nutriga <<
>> รีวิวนูทริก้า Nutriga รักษาโรคนอนไม่หลับ <<