FAQ, ลำไส้รั่ว

มารู้จักภาวะ ‘ลำไส้รั่ว’

%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b9%84%e0%b8%aa%e0%b9%89%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a7-leakage

ลำไส้รั่ว เป็นอย่างไร?

ภาวะลำไส้รั่วซึม (Leaky Gut Syndrome) ฟังดูแล้วอาจจะน่ากลัวเพราะคิดถึงภาพที่ลำไส้เป็นรูทะลุจนเกิดภาวะรั่ว แต่จริงๆแล้วภาวะนี้จัดเป็นการทำงานผิดปกติของลำไส้อย่างนึง

ที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นโรค(Disease) แต่จะก่อให้เกิดปัญหาเรื้อรังหรือความผิดปกติอื่นๆหลายอย่างที่เราหาสาเหตุไม่เจอได้

 ลำไส้ ทำหน้าที่ในการดูดซึมสารอาหารต่างๆ เช่น ไขมัน แป้ง และโปรตีน ที่เราบริโภคเข้าไปสู่ร่างกาย และยังทำหน้าที่สำคัญคือเป็นผนังกั้นเหมือนรั้วบ้าน

คอยป้องกันไม่ให้สารพิษหรือสารเคมีต่างๆเข้าสู่ร่างกายของเราอีกด้วย เมื่อเยื่อบุผิวของลำไส้เกิดการระคายเคืองและอักเสบขึ้นมา ผลที่เกิดขึ้นก็คือจะทำให้ช่องว่างระหว่างเซลล์เปิดกว้างขึ้น

ภาวะลำไส้รั่วให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆ

เป็นเหตุให้สารอาหารที่ยังย่อยไม่เสร็จและมีขนาดใหญ่, สารพิษ หรือเชื้อโรคผ่านเซลล์หลุดเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่ายขึ้น  และกลายเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายต้องสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมาต่อต้าน จึงส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆได้

ลักษณะภาวะ ‘ลำไส้รั่ว’

  1. เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียเรื้อรัง สมองมึนงง
  2. มีผื่นผิวหนังขี้น โดยไม่ทราบสาเหตุ
  3. ผื่น สิวที่รักษาไม่หาย
  4. ภูมิเพี้ยน,ภูมิแพ้,แพ้อาหาร,หอบหืด
  5. ลำไส้แปรปรวน ปวดท้องและปวดท้องบ่อยๆ แบบไม่มีสาเหตุ,ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  6. โรคในระบบภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง(Auto-immune disorder) เช่น SLE ,โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น

โรครูมาตอยด์ ปวดหัวเข่า

สาเหตุของลำไส้รั่ว

1. อาหาร

  • การบริโภคอาหารจำพวกแป้งเละน้ำตาล นอกจากจะทำให้อ้วนแล้ว ยังเป็นแหล่งอาหารของยีสต์ในลำไส้อีกด้วย ซึ่งถ้าปริมาณของยีสต์ในลำไส้มีมากเกินไป (Yeast Overgrowth) จะไปก่อกวนผนังลำไส้ทำให้เกิดภาวะลำไส้รั่วได้ในที่สุด
  • พฤติกรรมการบริโภคอาหารเมนูซ้ำๆบ่อยๆ ทำให้ลำไส้ไม่ชินกับความหลากหลาย รวมถึงอาจได้รับสารเคมีตกค้างจากอาหารจานเดิมๆเข้าไปสะสมในลำไส้อยู่ตลอดเวลา จนถึงจุดหนึ่งทำให้เกิดภาวะลำไส้รั่วได้เช่นกัน

กินอาหารซ้ำๆบ่อยๆ ทำให้เกิดภาวะลำไส้รั่วได้

  • ความเร่งรีบในการทานอาหาร การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ก็เป็นปัจจัยหนึ่งของสาเหตุนี้

2. ยา & สารพิษ

  • ยาฆ่าเชื้อและยาปฏิชีวนะ ที่มีประสิทธิภาพสูงจะออกฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ทั้งชนิดดีและชนิดร้าย จนขาดสภาวะสมดุลในลำไส้ทำให้ลำไส้อ่อนแอและทำงานผิดปกติได้
  • การทานยาแก้ปวด หรือยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDS นานๆ ก็จะส่งผลให้การทำงานของลำไส้ผิดปกติได้เช่นกัน
  • การทานยาลดกรดพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็น
  • สารพิษ,สารเคมี,ยาฆ่าแมลง,หรือสารโลหะหนักที่ปนเปื้อนมาในน้ำและอาหาร

3. ความเครียด

  • เมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเครียดออกมาส่งผลกระทบต่อร่างกายหลายอย่าง รวมถึงการบีบตัวของลำไส้ด้วย

ความเครียดสะสมทำให้เกิดโรค

การวินิจฉัยภาวะลำไส้รั่ว

เนื่องจากภาวะนี้เป็นความผิดปกติในการทำงานของลำไส้ จึงไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ด้วยตาเปล่า เหมือนการตรวจโรคในระบบทางเดินอาหารทั่วๆไป

ดังนั้นการส่องกล้องหรือการเอ็กซเรย์ จึงไม่สามารถตรวจพบความผิดปกตินี้ได้ ต้องมีวิธีการตรวจที่เฉพาะโดยการกลืนน้ำตาลแล้วตรวจการดูดซึมของลำไส้ ที่เรียกว่า “Lactulose-Mannitol test”

Lactulose-Mannitol test

ในการตรวจกระทำโดยการกินน้ำที่มีน้ำตาลทั้งสองชนิดเข้าไป หลังจากนั้นให้เอาปัสสาวะมาตรวจหาระดับน้ำตาลทั้งสองในปัสสาวะ  ซึ่งโดยปกติน้ำตาล Lactulose เป็นน้ำตาลที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่

การวินิจฉัยภาวะลำไส้รั่วด้วยการตรวจการดูดซึมของลำไส้

จะไม่ผ่านการดูดซึมโดยผนังลำไส้ในภาวะปกติได้ จึงมักจะตรวจไม่พบในปัสสาวะคนไข้ภายหลังจากที่ดื่มไปแล้ว ส่วนน้ำตาล Mannitol เป็นน้ำตาลที่มีขนาดโมเลกุลเล็ก

ซึ่งในภาวะลำไส้ปกติ ก็จะสามารถดูดซึมผ่านเข้าผนังลำไส้ และตรวจพบในปัสสาวะได้ ดังนั้นเราสามารถวิเคราะห์ผลตรวจปัสสาวะได้ดังนี้

  • ลำไส้ปกติ – พบในน้ำตาลแมนนิทอล มากกว่าแลคทูโลสในปัสสาวะ
  • ลำไส้รั่ว – พบน้ำตาลทั้งสองชนิดสูงในปัสสาวะ
  • ภาวะการดูดซึมบกพร่อง (Malabsorption) – พบระดับน้ำตาลทั้งสองชนิดต่ำมากในปัสสาวะ เนื่องจากไม่มีการดูดซึม

ลำไส้ภายในร่างกาย

แนวทางแก้ไขภาวะลำไส้รั่ว

  1. Remove (คือ การกำจัดสาเหตุของปัญหา)
  • ควรปรับอาหารด้วยการงดกินแป้ง,ผลิตภัณฑ์นม และน้ำตาลขัดขาว
  • กินผัก ผลไม้ และดื่มน้ำมากๆ

ควรทานผักผลไม้เป็นประจำ

  • งดเครื่องดื่มจำพวกชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ที่จะไปกระตุ้มลำไส้ให้ทำงานผิดปกติ
  • ลดการใช้ยาจากอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ แต่หันมาพักผ่อนให้มากขึ้น และออกกำลังกายเบาๆ
  • ลดความเครียด พยายามปล่อยวาง
  1. Replace (คือ การให้สารที่ช่วยเพิ่มการย่อยอาหารให้สมบูรณ์มากขึ้น)
  • ทานกรดหรือเอ็นไซม์บางชนิดเพื่อช่วยย่อยอาหาร
  • การดื่มน้ำแอปเปิ้ล ก่อนมื้ออาหารประมาณ 15 นาที จะช่วยย่อยอาหารดีขึ้น
  1. Reinoculate (คือ การปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้)
  • การทานโปรไบโอติค เพื่อเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียในลำไส้ เช่น โยเกิร์ต แลคโตบาซิลลัส
  • การทานพรีไบโอติค เช่น น้ำตาล FOS เพื่อเป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรียที่ดี และลดแบคทีเรียก่อโรค

ทานโยเกิร์ตเพื่อปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้

  1. Repair (คือ การให้อาหารที่เป็นมิตรกับลำไส้เพื่อช่วยซ่อมแซมและฟื้นฟูผนังลำไส้)
  • อาหารที่มีวิตามินเอ อี และสังกะสี
  • การทานมะเขือเทศเพื่อเสริมสารไลโคปีน ที่ต้านการติดเชื้อเรื้อรัง
  • สมุนไพร เช่น ว่านหางจระเข้,ชะเอม,ขมิ้น
  • น้ำมันปลา (Fish oil) เพื่อเพิ่มระดับ ดีเฮชเอ (DHA) และอีพีเอ (EPA) ในการลดการอักเสบเรื้อรัง

เพียงแค่เรารู้จักดูแลร่างกาย เลือกทานและประพฤติตัวให้ถูกต้อง สุขภาพที่ดีก็จะไม่ใกล้เกินเอื้อมอีกต่อไป

เครื่องดื่มน้ำว่านหางจระเข้ผสมสารสกัดโกจิเบอร์รี่ s vera plus

บทความที่น่าสนใจ

error: do not copy content!!