FAQ, วัคซีนสู้โรค

วัคซีน…ช่วยสู้โรคได้อย่างไร

%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%84%e0%b8%8b%e0%b8%b5%e0%b8%99-vaccine-vs-disease

โตแล้วก็ต้องฉีด’วัคซีน’เพื่อสู้โรค

หลายคนเชื่อกันว่า วัคซีน จำเป็นต้องฉีดแต่เด็กเท่านั้น แต่ความเชื่อได้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะทุกวันนี้ผู้ใหญ่หลายคนก็เข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคบางอย่าง

เช่น ไข้หวัดใหญ่หรือวัคซีนอีสุกอีใส เมื่อพ้นวัยเด็กมา เรามักเข้าใจว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นเฉพาะหน้า เช่น อุบัติเหตุ มีบาดแผลสกปรก หรือการถูกสุนัขหรือสัตว์อื่นๆกัด

การฉีดยาวัคซีนรักษาโรค

แต่ในความเป็นจริงแล้ว วัคซีน ที่จำเป็นสำหรับผู้ใหญ่มิได้มีเพียงแค่นี้

‘วัคซีน’ในผู้ใหญ่มีอะไรบ้าง

คนทุกคนควรมีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆอย่างเหมาะสม แพทย์แนะนำวัคซีนที่ควรพิจารณาฉีดให้ผู้ใหญ่ หญิงตั้งครรภ์และผู้สูงอายุ ได้ดังนี้

1. วัคซีนบาดทะยัก  คอตีบ ไอกรน

  • บาดทะยัก (Tetanus vaccine) หากติดเชื้อจะทำให้เกิดอาการเกร็งทั้งตัว เป็นไข้ ความดันโลหิตสูง และการเต้นของหัวใจผิดปกติ ถ้าเป็นผู้สูงอายุก็จะมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่ได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นจนครบ 3 เข็ม

การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคในผู้สูงอายุ

  • คอตีบ (Diphtheria vaccine) ถ้าติดเชื้อรุนแรงจะทำให้ระบบทางเดินหายใจตีบตัน เป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจและเส้นประสาทส่วนปลาย อาจทำให้เสียชีวิตได้

โดยพบว่าโรคคอตีบกลับมาระบาดใหม่หลังหายไปจากประเทศไทยเกือบ 20 ปี พบในจังหวัดชายแดนหลายจังหวัด  ส่วนใหญ่เกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป

  • ไอกรน (pertusis vaccine) ปัจจุบันเด็กโตและวัยรุ่นเป็นโรคไอกรนกันมากขึ้น การให้วัคซีนในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่เพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย ลดโอกาสการแพร่เชื้อจากผู้ใหญ่ไปสู่เด็กเล็กที่หากได้รับเชื้อก็มีอันตรายถึงชีวิตได้

การฉีดวัคซีนในวัยรุ่น

แนะนำให้ฉีด 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 หากจากครั้งแรก 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งที่ 2  ประมาณ 6-12 เดือน และควรฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี และราคาเข็มละประมาณ 650 บาทขึ้นไป

2. steptococcus pneumoniae

เชื้อ steptococcus pneumoinae (pneumococcal vaccine) เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จึงทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิต 20-50 %

คนที่มีความเสี่ยงและอาจเป็นอันตรายจากโรคนี้คือ ผู้สูงอายุวัย 65 ปีขึ้นไป คนที่ไม่มีม้าม ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ตับแข็ง น้ำไขสันหลังรั่ว หืด และคนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ฯลฯ

การสูบบุหรี่ทำให้ป่วยเป็นโรคได้ง่าย

3. ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza vaccine) ในคนสูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ผู้ที่เป็นโรคปอดรื้อรัง หืด โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจ เบาหวาน ไต โรคเกี่ยวกับระบบเลือด

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง คนที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน  และในหญิงตั้งครรภ์ถ้าได้รับเชื้อช่วงไตรมาสที่ 2-3 อาจมีอาการรุนแรงหรืออันตรายถึงชีวิตได้

4. หัด หัดเยอรมัน คางทูม

หัด หัดเยอรมัน คางทูม (Measles-mumps-rubella vaccine) โรคนี้อาจทำให้เกิดอาการปอดบวม ลมชัก สมองพิการและเสียชีวิต เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หูหนวก อัณฑะหรือรังไข่บวม

เด็กทารก การตั้งครรภ์

และยังทำให้เกิดภาวะแท้งและทารกในครรภ์มีความผิดปกติ ถ้าเคยฉีดวัคซีนชนิดนี้ครบ 2 ครั้งแล้วก็ไม่ต้องฉีดอีก แต่ถ้ายังไม่เคยป่วยเป็นทั้งสามโรคนี้เลยหรือได้รับวัคซีนไม่ครบ ควรรับวัคซีนอย่างน้อย 1 ครั้ง

5. อีสุกอีใส

อีสุกอีใส (varicella vaccine) ถ้าเกิดในผู้ใหญ่จะมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเช่น ปอดบวม และอาจเสียชีวิตได้ คนที่ไม่แน่ใจว่าเคยเป็นอีสุกอีใสในวัยเด็กก็ควรตรวจภูมิคุ้มกันก่อนได้รับวัคซีน

6. ไวรัสตับอักเสบเอ

ไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A vaccine) วัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่ได้รับเชื้ออาจเกิดอันตรายรุนแรงโดยกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ชายกับชาย คนติดยาเสพติด

กลุ่มผู้รักร่วมเพศเสี่ยงเป็นไวรัสตับอักเสบเอ

คนที่เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้สูง ผู้ประกอบอาหารให้คนจำนวนมากกิน คนที่ทำงานในห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบเอ แนะนำให้ฉีด 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 6-12 เดือนราคาเข็มละประมาณ 1,000 บาทขึ้นไป

7. ไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B vaccine) เป็นโรคอันตรายโดยเฉพาะกับกลุ่มเสี่ยง เช่น คนติดยา คู่รักร่วมเพศ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟอกไต คนที่ได้รับเลือดบ่อย ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ คนที่มีโอกาสสัมผัสเลือดจากการทำงาน

8. ไข้สมองอักเสบ

ไข้สมองอักเสบ JE (Japanese encephalitis vaccine) มียุงรำคาญชนิด Culex tritaeniorhynchus เป็นพาหะและเป็นแหล่งเพาะเชื้อ พบมากแถวจังหวัดทางภาคเหนือภาคตะวันอีสาน

อาการที่รุนแรงคือ ไข้สูง อาเจียน มีอาการทางสมอง เพ้อคลั่ง ชัก หมดสติ เป็นอัมพาต และอาจเสียชีวิต วัคซีนไข้สมองอักเสบมีหลายชนิดยกตัวอย่างเช่น ชนิดเชื้อตาย JE-VAX แนะนำให้ฉีด 3 เข็ม ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 1-4 สัปดาห์

การฉีดยาวัคซีนเพื่อป้องกันโรค

และครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งที่ 2 ประมาณ 1 ปี ส่วนชนิดเชื้อมีชีวิตอ่อนฤทธิ์ IMOJEV 0.5 มิลลิลิตร ควรฉีด 1 เข็ม และให้ฉีดกระตุ้นหลังจากฉีดครั้งแรก 1-2 ปี เพื่อกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันสูงขึ้นและสามารถป้องกันโรคได้เป็นเวลานาน ราคาประมาณ 460 บาทขึ้นไป

9. ฮิวแมนปาปิลโลมาไวรัส

ฮิวแมนปาปิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus vaccine) หรือเชื้อเอชพีวี(HPV) เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกที่พบบ่อยเป็นอันดับ1ในผู้หญิงไทย

แนะนำให้ฉีด 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งที่ 2 ประมาณ 6 เดือน ราคาเข็มละประมาณ 10,000 บาทขึ้นไป

วัคซีน ถือว่ามีความสำคัญต่อเราและคนรอบข้างอย่างยิ่ง แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าก็คือ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีคนแออัด เลือกอาหารและน้ำดื่มที่สะอาด

ล้างมือบ่อยๆเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค

ให้นึกถึง 3 คำนี้ไว้เสมอ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” ก็จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อและทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ

วัคซีนจำเป็นสำหรับทุกคน

โรคอีกหลายชนิด เช่น ไข้หวัดใหญ่ บาดทะยัก อีสุกอีใส ปอดบวม หัดเยอรมันฯ สามารถป้องกันได้เมื่อได้รับวัคซีน เช่น โรคอีสุกอีใส ตอนเด็กป่วยถือเป็นเรื่องปกติ

แต่ถ้าผู้ใหญ่ป่วยจะมีอันตรายมาก สํานักระบาดวิทยากรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขมีรายงานเกี่ยวกับโรคอีสุกอีใสว่า ในปีนี้มีผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่มากถึง 63,510ราย  มากกว่าปีที่แล้วถึง 1.3 เท่า

เด็กเล็กมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เสี่ยงต่อการเป็นติดเชื้อโรค

แม้กระทั่งไข้หวัดใหญ่ ที่ดูเหมือนเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่ก็เป็นอันตรายในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเรื้อรังเช่น เบาหวาน หลอดเลือดสมอง ไตวาย หืด โรคหัวใจ และมะเร็ง คนที่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และหญิงตั้งครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป

ข้อควรระวัง

1) ถ้ามีไข้สูงควรเลื่อนการรับวัคซีนออกไปก่อน

2) คนที่เคยแพ้ชนิดที่มีอาการรุนแรงหรือเป็นลมพิษ และคนที่เคยแพ้ยาปฏิชีวนะนีโอมัยชินอย่างรุนแรงควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อน

การตั้งท้อง ตั้งครรภ์

3) หญิงตั้งครรภ์ควรเว้นไว้ก่อน เนื่องจากอาจมีอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์

4) ผู้หญิงที่รับวัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิตควรคุมกำเนิดหลังได้วัคซีน 1 เดือน

5)ถ้าอยู่ในบ้านเดียวกันกับคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ เลือดมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจแพร่ไปสู่ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว

ปัจจุบันการให้วัคซีนสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันโรคนั้นยังมีน้อยเกินไป เพราะบางคนไม่ได้รับวัคซีนในวัยเด็ก หรือรับวัคซีนแต่ภูมิคุ้มกันได้หมดไปแล้ว หลายประเทศจึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

ควรมีการสนับสนุนการฉีดวัคซีน

โดยสนับสนุนให้ประชาชน เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องรวมทั้งบุคลากรทางแพทย์ได้รับวัคซีน

บทความที่น่าสนใจ

error: do not copy content!!