
ทำไมหัวใจขาดเลือด…ลองมาดูกัน
“หัวใจขาดเลือด” ฟังดูแปลกๆไหม? ทั้งที่อวัยวะหัวใจก็สูบฉีดเลือด สัมผัสกับเลือดอยู่ตลอดเวลา แต่กลับมีอาการขาดเลือดได้…
“โรคหัวใจขาดเลือด”เป็น 1 ใน 10 โรคร้ายที่พบมากเป็นอันดับต้นๆคร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดไม่ว่าชายและหญิง
ในประเทศอเมริกาจำนวนผู้เสียชีวิตที่มีสาเหตุมาจากโรคหัวใจขาดเลือดมีมากถึง 1 ใน 6 และที่น่ากลัวยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ราวๆครึ่งหนึ่งของการตายจากโรคนี้ไม่เคยมีสัญญาณเตือนมาก่อน
เรียกได้ว่าเป็นมัจจุราชที่แฝงตัวอยู่ในความมืด พอได้ออกโรงเมื่อไหร่ก็ลงมือได้เฉียบขาดแน่นอน ถึงแม้ว่าอัตราการเสียชีวิตจาก “หัวใจขาดเลือด” ซึ่งนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจะสูงก็ตาม
แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเกิดอาการแล้วผู้ป่วยจะต้องเสียชีวิตเสมอ สิ่งที่จะชี้เป็นชี้ตายในสภาวะฉุกเฉินเช่นนี้คือ ผู้ป่วยถึงมือแพทย์ได้เร็วเพียงใด
เช้าตรู่ในวันที่อากาศดีและยังตรงกับวันหยุด จึงไม่แปลกที่สวนลุมพินีจะเต็มไปด้วยผู้คนเยอะแยะมากมายทั้งคนที่มาออกกำลังกายและมาพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง ลุงน้อมก็เป็นหนึ่งในนั้น วันนี้ก็เหมือนวันเสาร์อื่นๆลุงน้อมตื่นตั้งแต่ตีห้า อาบน้ำแต่งตัวออกมาเจอเพื่อนๆที่สวนลุมฯเช่นเคย
ขณะที่กำลังเดินเข้าสวนลุมพินี ลุงน้อมก็เริ่มรู้สึกว่ามีบางอย่างไม่ปกติ เริ่มรู้สึกใจสั่น จุก แน่นหน้าอกเหมือนถูกของหนักๆวางทับ มือไม้อ่อนจนแทบยืนไม่ไหว โชคดีที่เพื่อนคว้าแขนเอาไว้ได้ทันไม่งั้นศีรษะคงกระแทกฟาดพื้นแน่
ลุงน้อมนึกขึ้นมาได้ทันทีว่าเจ็บหน้าอกนี้คล้ายกับครั้งก่อนที่เคยเป็น ตอนนั้นหมอจ่ายยาอมใต้ลิ้นเอาไว้ด้วย ลุงก็พกติดตัวเสมอเผื่อฉุกฉิน จึงรีบบอกเพื่อนว่ามียาอยู่ในกระเป่า ลุงก็หยิบขึ้นมาด้วยมือสั่นก่อนเอาใส่ปาก แล้วรอด้วยความหวังว่าอาการเจ็บหน้าอกจะบรรเทาลง
- ห้านาทีผ่านไป…
- 10 นาทีผ่านไป…
อาการเจ็บหน้าอกไม่เบาลงเลย หนำซ้ำรู้สึกใจเต้นไม่เป็นจังหวะยังรุนแรงขึ้น หน้ามืดจนเกือบจะประคองสติเอาไว้ไม่อยู่ เพื่อนๆรอบข้างเห็นท่าไม่ดีเลยรีบพาส่งโรงพยาบาล…
เรารู้กันดีว่าหัวใจก็ต้องการสารอาหารออกซิเจนที่มากับเลือดเช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ แต่ทั้งๆที่หัวใจทำงานสัมผัสกับเลือดตลอดเวลาแต่กลับไม่สามารถดึงเอาสารอาหารจากเลือดที่ตัวเองปั๊มมาใช้ได้ กลับต้องใช้เลือดที่มาจากช่องทางพิเศษต่างหากที่เรียกว่า “เส้นเลือดหัวใจ” เท่านั้น
เส้นเลือดหัวใจประกอบๆไปด้วยเส้นเลือดหลักๆ3เส้น ไปเลี้ยงส่วนต่างๆในหัวใจ ทำหน้าที่เป็นเหมือนท่อน้ำย่อยๆ ที่ส่งน้ำเข้าไปเลี้ยงตัวปั๊มน้ำเอง
โรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากการที่ท่อเล็กๆเหล่านี้ตีบแคบลงจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบมากที่สุดคือการตีบจากการที่มีพลั๊ค(Plaque) ซึ่งมีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นคอเลสเตอรอล เปรียบเหมือนตะกรันที่ติดอยู่ตามท่อ ทำให้ท่อ(หลอดเลือด)นั้นตีบตันลง
เมื่อมีการตีบตันของเส้นเลือด ในช่วงแรกๆร่างกายจะยังไม่แสดงอาการใดออกมา เนื่องจากเลือดปริมาณมากยังคงสามารถไหลไปเลี้ยงหัวใจได้อยู่อาจมีอาการแน่นหน้าอกเล็กน้อยตอนออกแรง
หรือมีความเครียด เพราะความเครียดจะส่งสัญญาณไปที่หัวใจทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น ก็เพราะหัวใจต้องการเลือดมากขึ้น
แต่หลอดเลือดที่ตีบลงนั้นไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงได้มากเท่ากับที่หัวใจต้องการ จึงมีอาการเจ็บหน้าอก อาการเจ็บหน้าอกระยะต้นจะเป็นอยู่ไม่นาน พอนั่งพักสักหน่อยหัวใจเต้นช้าลงก็จะดีขึ้น หรืออมยาใต้ลิ้นอาการก็จะดีขึ้นได้เอง
ใครมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาออกแรง และเป็นทุกครั้งที่ออกแรงแบบนี้ควรไปพบแพทย์ เพราะว่านี่เป็นสัญญาณเตือนเริ่มแรกแล้วว่าหัวใจของคุณกำลังตกอยู่ในอันตราย!
หากว่าการตีบตันของเส้นเลือดหัวใจยังคงถูกละเลยต่อไป เมื่อพลั๊คพอกตัวหนาขึ้นจนกระทั่งไม่สามารถเกาะตัวกันได้อีกต่อไป มันก็จะระเบิดออกจริงๆ และเมื่อมันระเบิดออก จะทำให้เกิดกระบวนการจับตัวของเกล็ดเลือดกับพลั๊คเป็นก้อนขนาดใหญ่ที่อุดตันหลอดเลือดหัวใจจนมิด
พอมาถึงขั้นนี้ผู้ป่วยจะรู้สึกแน่นหน้าอกขึ้นมาทันทีทั้งๆที่ไม่ได้ออกแรงอะไร (เพราะว่าเส้นเลือดหัวใจถูกอุดตันไปหมดแล้ว) แม้จะนั่งพักหรืออมยาใต้ลิ้นอาการก็ไม่หาย
อาการที่รุนแรงอย่างนี้บ่งบอกว่าตอนนี้หัวใจกำลังขาดเลือดเข้าขั้นวิกฤตจนกล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนเริ่มจะถูกทำลายลงหรือที่เรียกกันว่า “ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย” ซึ่งสามารถตรวจพบได้เนิ่นๆด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เมื่อพบการตีบตันของเส้นเลือดหัวใจซึ่งอาจจะแตกต่างไปในแต่ละคน ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ, สุขภาพผู้ป่วย แพทย์จะแนะนำให้กินยาเช่น ยาป้องกันเกล็ดเลือดจับตัว ยาลดไขมันในเลือด ยาขยายหลอดเลือด ยาลดการบีบตัวของหัวใจ เพื่อลดการทำงานของหัวใจและลดการใช้ออกซิเจนเป็นต้น
หรืออาจจะรักษาขยายหลอดเลือดหัวใจโดยการถ่างขยายด้วยลูกโป่ง หรือบอลลูนขนาดเล็ก (Percutaneous coronary intervention – PCI)
หรือรักษาโดยการผ่าตัดต่อทางเบี่ยงเส้นเลือดหรือที่เรียกว่าบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass surgery)ในกรณีที่จำเป็น
ฉะนั้นถ้าสงสัยว่ามีภาวะ “หัวใจขาดเลือด” ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะช่วงแรกๆที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนั้น กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนจะเพียงแค่บาดเจ็บแต่ยังไม่ตาย
หากว่าได้รับยาและการรักษาที่เหมาะสมก็จะสามารถฟื้นคืนกลับมาได้ อย่ามัวรอสังเกตอาการอยู่กับบ้านนะ เพราะทุกๆนาทีที่คุณรอคือแต่ละนาทีที่หัวใจค่อยๆตายลงไป…
5 สัญญาณเตือนร่วมของอาการโรคหัวใจ
ถ้าคุณมีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนถูกอะไรหนักๆ มากดทับบริเวณกลางอกค่อนไปด้านซ้าย อาจมีเจ็บร้าวไปบริเวณไหล่ซ้ายหรือขึ้นไปถึงบริเวณกราม ในบางรายอาจจะเป็นอาการจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ร่วมกับอาการดังต่อไปนี้
- หายใจสั้น รู้สึกหายใจไม่สะดวก เหนื่อย หอบ
- หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม
- ใจสั่นใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ใจหวิว
- เหงื่อแตกตัวเย็น
- เจ็บร้าวบริเวณคอ ไหล่ และกราม
หรือแม้จะมีแค่อาการเจ็บหน้าอกดังกล่าวแต่เพียงอย่างเดียว “อย่า” สังเกตอาการเองที่บ้าน ควรรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดในทันที
การป้องกันเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของโรคหัวใจทั้งหมด ด้วยการควบคุมอาหาร หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
และควรเสริมอาหารด้วยโสม,ถั่งเช่า,เบต้ากลูแคนฯ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพให้ดีขึ้นอีกทางด้วย ที่สำคัญคุณจะไม่ต้องใช้เงินก้อนโตที่เก็บสะสมมาทั้งชีวิตเพื่อรักษาโรคหัวใจ..!
>> รายละเอียด : อาหารเสริม Orysamin <<
>> 4 อาการเสี่ยงโรคหัวใจ ภัยใกล้ตัวคนทำงาน <<
>> ไม่แก่ก็ตายได้ หัวใจวายเฉียบพลัน <<