
โรควิตกกังวล
ความวิตกกังวลเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่พบได้ในมนุษย์ เป็นกลไกเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์เครียดต่างๆที่จะเกิดขึ้น
มักแสดงออกทั้งในทางความคิดและความรู้สึกทางกาย และเป็นตัวผลักดันให้มนุษย์แก้ปัญหา คิดพัฒนาสิ่งต่างๆ
แต่ถ้าความคิดวิตกกังวลนั้นมากเกินไป ควบคุมไม่ได้หรือไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์ก็จัดเป็นความผิดปกติแบบหนึ่งที่ควรต้องรับการรักษาดูแล บางคนมีอาการดังกล่าวจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต
“ความวิตกกังวลเล็กน้อยนั้นเป็นสิ่งดี เพราะจะทำให้รู้จักเตรียมตัวต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ถ้ามากเกินไปจนกระทบต่อการทำงานหรือชีวิตประจำวันก็ถือได้ว่าเป็นอาการของโรคกลุ่มวิตกกังวล” แบ่งได้ 5 ประเภท
-
โรควิตกกังวล ความกลัวเกินเหตุ
มักมีอาการ ตื่นเต้น ใจสั่น เหงื่อออก เมื่อถึงเวลาสอบหรือต้องนำเสนองานต่อที่สาธารณะ เนื่องจากความคิดล่วงหน้าเชิงลบเช่น “เราต้องทำข้อสอบได้ไม่ดีอย่างแน่” หรือ “ถ้าเราพูดผิดไปจะโดนคนอื่นว่าหรือเปล่า”
โดยทั่วไปอาการวิตกกังวลเหล่านั้นจะหายเป็นปลิดทิ้งเมื่อทำงานสำเร็จลุล่วง การวิตกกังวลมักวิตกในเรื่องที่เคยทำให้ไม่สบายใจมาก่อน บางเรื่องผ่านไปซักพักอาจลืม แต่บางเรื่องอาจยังฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกจนเกิดความอึดอัดหรือหวาดกลัวมากเกินไป คืออาการของโรควิตกกังวลทั่วไป
-
หวาดกลัวรุนแรง
เราคงเห็นบางคนกลัวสิ่งแปลกๆเช่น กลัวแตงโม กลัวใบไม้ หรือกลัวการอยู่ในที่แคบ มันสร้างความฉงนให้กับคนที่พบเห็นมาก ทั้งนี้เพราะแต่ละคนอาจเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้กลัวแตกต่างกัน ความกลัวจะเกิดขึ้นได้ต้องมีปัจจัย 2 อย่างควบคู่กัน
- ตัวกระตุ้นที่ชัดเจน ส่วนใหญ่มักจะเป็นวัตถุ
- ระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำงานรวดเร็ว ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเช่น เหงื่อแตก ใจสั่น ความดันโลหิตสูงขึ้น คนที่เป็นจะมีความกลัวรุนแรงเกินกว่าเหตุหรือไม่สมเหตุผลเกิดขึ้นซ้ำๆ ไม่สามารถระงับความกลัวนั้นได้ อาการหวาดกลัวจะเกิดขึ้นได้ทุกขณะและรวดเร็วกว่าคนปกติเมื่อตกอยู่ในเหตุการณ์นั้นหรือสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้เกิดความกลัว
โดยลักษณะความกลัวที่เกิดนขึ้นมักอยู่ในรูปแบบดังต่อไปนี้
- ความกลัวทางสังคม (Social Phobia)เป็นอาการกลัว ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ทางสังคม หรืออยูในสถานที่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น กลัวการพบปะคนแปลกหน้า กลัวการพูดต่อหน้าคนในที่สาธารณะ กลัวการเข้าร่วมกิจกรรม บางคนไม่สามารถไปไหนมาไหนได้โดยลำพังำด้เพราะกลัวตัวเองจะแสดงอาการหน้าขายหน้า เครียดล่วงหน้าเป็นวันหรือเป็นอาทิตย์ อาย หน้าแดง ไม่กล้าสบตา หายใจหอบถี่ ใจเต้นแรง เหงื่อออกมาก เสียงสั่น พูดติดขัด ปั่นป่วนในท้อง
- ความกลัวจำเพาะ คือ ความกลัวอย่างรุนแรงต่อ คน สัตว์ สิ่งของ แม้แต่สิ่งที่ระบุไม่ได้ เช่น กลัวความมืด กลัวหมอฟัน กลัวลูกโป่ง กลัวเข็มฉีดยา มีอาการใจสั่น หายใจลำบาก วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย คล้ายจะเป็นลม
-
ย้ำคิด ย้ำทำ
พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ เช่นล้างมือบ่อยๆวันละหลายสิบครั้งเพราะกลัวสิ่งสกปรกจากการสัมผัส แม้มือสองข้างจะแห้งหลุดลอก ก็หยุดพฤติกรรมนี้ไม่ได้
โรคนี้มักพบในคนที่มีภาวะเศรษฐกิจและสังคมระดับกลาง-สูง มีปัญญาดี มีการศึกษาดี เป็นคนที่ชอบคิดชอบทำงาน และรับผิดชอบงานที่ทำ เกิดจากสาเหตุทางจิตใจและความผิดปกติของระดับสารเคมีในสมองที่ชื่อ เซโรโทนิน(Serotonin) ต่ำกว่าปกติ
มักมีความรู้สึกนึกคิดหรือจินตนาการที่ผุดขึ้นมาซ้ำๆ ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยไม่สามารถหยุดความคิดเหล่านี้ได้ ทำให้เกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมากเช่น คิดซ้ำๆว่าจะทำร้ายหรือทำสิ่งไม่ดีกับคนที่ตนรัก คิดซ้ำๆว่าลบหลู่หรือด่าว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คิดซ้ำๆว่าลืมปิดแก๊สหรือลืมล็อกประตู แล้วก็ไม่เข้าใจว่าเหตุใดถึงเกิดความคิดเช่นนั้น อาจมีการย้ำทำตามมาด้วย เกิดเป็นพฤติกรรมที่ทำซ้ำซากหนักขึ้น บางคนถึงกับเสียการเสียงานก็มี
-
เครียดหนักหลังเหตุสะเทือนใจ
โรคเครียดหลังประสบเหตุการณ์สะเทือนใจเกิดได้ไม่บ่อยนักแต่มีความรุนแรงมาก โดยเป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นหลังพบเหตุการณ์ความรุนแรง เช่น อยู่ในเหตุการณ์ร้ายแรง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ถูกทำร้ายร่างกายโดนปล้น ถูกทารุณกรรมทางเพศหรือพบเห็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญ
แม้เวลาจะผ่านพ้นเป็น 10 ปี ก็ไม่สามารถลืมเลือนเหตุการณ์ครั้งนั้นๆได้ ทั้งยังจมดิ่งอยู่ในความเศร้าโศกเสียใจมากยิ่งขึ้น เมื่อมีสิ่งกระตุ้นเตือนความทรงจำเข้ามาเช่น ข่าว คำบอกเล่าต่างๆ
-
ตื่นตระหนกจนป่วย
“ไม่ไปเที่ยวด้วยหรอก กลัวเครื่องบินตก” หรือ “ฉันต้องเป็นโรคร้ายแน่เลย ช่วงนี้ปวดหัว ปวดท้อง เจ็บตามตัวไปหมด” มิหนำซ้ำยังมีอาการใจเต้นแรง ใจสั่น แน่นหน้าอก รู้สึกหายใจติดขัด เวียนศีรษะ บางครั้งอาการหนักจนถึงขั้นเหงื่อแตก มือ-เท้าเย็น หรือชาฉับพลัน แต่ก็จะค่อยๆดีขึ้นและมักจะหายเองได้ในเวลาไม่นาน
ทั้งหมดนี้เป็นอาการวิตกกังวลอย่างเฉียบพลันหรือที่รู้จักกันในชื่อ โรคตื่นตระหนก (โรคแพนนิค) ซึ่งผู้ที่เป็นจะมีความกังวลอย่างมากกับอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น กลัวประสบอุบัติเหตุหรือเจอภัยพิบัติ กลัวเป็นโรคร้าย กลัวขโมยขึ้นบ้าน…
บางคนจะมีอาการแบบนี้ซ้ำๆ อาจเป็นสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง หรืออาจจะมีอาการวันละหลายๆครั้งทั้งแบบเฉียบพลันและรุนแรง ทำให้ตกใจกลัวว่าจะเป็นโรคหัวใจ หรือโรคร้ายแรงอื่นๆ หรือกลัวจะเสียชีวิต
โรควิตกกังวลแก้ไขอย่างไรดี?
ในความเป็นจริงแล้วมีคนรอบข้างจำนวนไม่น้อยที่กำลังเผชิญกับโรคนี้อยู่ ทางรักษาที่ดีที่สุดคือ ปรึกษาแพทย์เพราะจำเป็นต้องตรวจวิเคราะห์ให้แม่นยำว่ามีอาการของโรคกลุ่มวิตกกังวลหรือเปล่า ไม่ควรคิดและแก้ไขเอง และมีวิธีการรักษาดังนี้
- ยา ตัวช่วยเบื้อต้นในการรักษาขั้นต้นอาจมีการใช้ยา ถ้ามีอาการรุนแรง หรือใช้ยาเพื่อลดอาการวิตกกังวลในระยะแรก เช่น ยาคลายเครียด ยานอนหลับ ยาบำรุงประสาท
- จิตบำบัด ระบายทุกข์ การรักษาด้วยจิตบำบัดจะทำโดยนักจิตบำบัดที่ได้รับการฝึกฝนมาโดยเฉพาะ นักจิตบำบัดจะช่วยให้ผู้ที่เป็นได้ระบายความทุกข์และได้เข้าใจว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริง และช่วยค้นหาแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมเพื่อให้คลายความวิตกกังวลลง วิธีจิตบำบัดอาจเพียงพอสำหรบคนที่มีความกังวลบางราย แต่บางรายก็ต้องใช้วิธีอื่นร่วมด้วย
- พฤติกรรมบำบัด สร้างกำลังใจ โดยการให้เผชิญกับสิ่งที่ทำให้กลัวและปรับให้คิดบวกเพิ่มขึ้น การรักษาจะต้องค่อยเป็นค่อยไปใช้เวลา อย่าคาดหวังว่าจะหายได้ทันทีเพราะจะทำให้ผิดหวังหมดกำลังใจ บางรายอาจมีอาการกลัวหรือวิตกกังวลมากจนทุกข์ทรมาน กระทบต่อการดำเนินชีวิตก็อาจต้องใช้ยาร่วมด้วย
“จุดสำคัญต้องเริ่มต้นที่ตัวเอง คือต้องยอมรับความจริงว่าเป็นโรคนี้ ถ้าต้องการให้อาการเหล่านี้หายไป ต้องตัดสินใจต่อสู้และอดทน รวมถึงพยายามหากิจกรรมอื่นๆทำเพื่อให้เกิดความสุข ซึ่งจะช่วยให้ค่อยๆหายจากอาการเหล่านั้นได้”
ดูแลตนเองเมื่อวิตกกังวล
การดูแลตนเองเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากอาการวิตกกังวลประกอบด้วยอาการทางร่างกายและความคิด การปรับความคิดอาจต้องใช้เวลา ส่วนอาการทางกายนั้นสามารถบำบัดได้ด้วยตนเองง่ายๆด้วยการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อและควบคุมการหายใจ
เป็นการผ่อนคลายความวิตกกังวลเบื้องต้นเริ่มทำได้เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่สงบ ไม่มีสิ่งรบกวน หายใจเข้า-ออกช้าๆ นับ 1-10 อยู่ในท่านั่งหรือท่านอนที่สบาย วิธีนี้จะทำให้ร่างกายตอบสนองต่อระบบประสาทอัตโนมัติลดลง และควรทำสม่ำเสมอวันละ 10-15 นาที ก็จะช่วยป้องกันความเครียดได้
“ความเครียด” เป็นความรู้สึกที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นในตัวเองบ่อยๆ แต่วิถีชีวิตของคนสมัยนี้หลีกเลี่ยงยาก มีปัจจัยหลายๆอย่างที่ทำให้ความเครียดแฝงเร้นเข้ามาในจิตใจเราโดยไม่รู้ตัว…
การเอาจริงเอาจัง เอาเป็นเอาตายกับบางเรื่อง (หรือหลายเรื่อง) กับคนบางคน กับเหตุการณ์บางเหตุการณ์ ไม่เห็นจะมีประโยชน์ตรงไหน..! ถ้าหากเราทำดีหรือพยายามจนถึงที่สุดแล้ว ก็ให้พอใจหรือทำใจยอมรับกับทุกสิ่งให้ได้ อยู่กับความจริง.. “ คนที่ยอมรับความจริงได้ จะไม่ค่อยเครียด..”
วิธีผ่อนคลายความเครียดมีหลายวิธี และวิธีที่ง่ายที่สุดและได้ผลดีก็คือ การพักผ่อนนอนหลับ.. แม้บางคนจะบอกว่ามันเครียดจนนอนไม่หลับ แต่อย่างไรก็ต้องพยายามหาวิธีที่จะช่วยให้ตัวเองหลับสนิทให้ได้เช่น ออกกำลังกายให้มากขึ้น
ช่วงเวลาที่เราได้นอนหลับอย่างเพียงพอนั้น เป็นช่วงที่ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานโรค ทำให้ตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่น และพร้อมที่จะต่อสู้กับความเครียดใน วันรุ่งขึ้นได้ดียิ่งขึ้น แต่ถ้าเครียดแล้วพักผ่อนน้อยลง… ความเครียดกลับจะยิ่งเพิ่มขึ้น
สุดท้ายเราจะอดทนกับความเครียดได้น้อยลงเรื่อยๆ เป็นวงจรอุบาทว์ที่ต้องจบลงด้วยปัญหาสุขภาพ ไม่โรคใดก็โรคหนึ่งอย่างแน่นอน..
นอกจากวิธีต่างๆที่ว่ามาแล้ว สมุนไพรเช่น โสมเกาหลี หรืออาหารเสริมอย่างเบต้ากลูแคน ,เมลาโทนินก็เป็นอีกทางเลือกนึงที่สามารถช่วยให้คุณนอนหลับได้ดีและง่ายยิ่งขึ้น..
>> รีวิว นิวทริก้ากับโรคนอนไม่หลับ <<
>> รีวิว นิวทริก้ากับโรคแพนนิค <<