
พันธุกรรมเหมือนครึ่งเดียวก็ปลูกถ่าย ‘ไขกระดูก’ ได้
เมื่อก่อนถ้าใครเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน โอกาสรอดชีวิตนั้นมีน้อยมากจริงๆ
หากใครเคยมีญาติที่ป่วยด้วยโรคนี้คงพอรู้ ว่าเมื่อรักษาไปได้พักนึงเค้าก็จะหายหน้าหายตาไปจากชีวิตคุณ
นี่คือเรื่องจริงที่แสนรันทดในอดีต แต่วันนี้การแพทย์ได้เจริญก้าวหน้าไปไกล คนที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและอีกหลายๆโรคที่เกี่ยวกับเลือด
วันนี้ยังมีหวังแล้ว..พูดง่ายๆคือมีโอกาสที่จะหายถึงหายขาดได้ด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก (เพียงใช้พันธุกรรมเหมือนเพียงครึ่งเดียวได้)
การปลูกถ่ายไขกระดูกคือ
การปลูกถ่ายไขกระดูกเป็นที่รู้จักกันมาหลายปีแล้ว ซึ่งถูกใช้ในการรักษาโรคเลือดต่างๆเช่น โรคไขกระดูกฝ่อ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฯ
หลักการของการปลูกถ่ายไขกระดูกนี้คือ แพทย์จะทำการเก็บรักษาเซลล์เม็ดเลือดตัวอ่อนต้นกำเนิด (ที่เรียกว่า สเต็มเซลล์) ของผู้ที่เป็นมะเร็งออกมาไว้ก่อนจะทำการรักษาใดๆ
จากนั้นจะให้ยาเคมีบำบัด(คีโม)ในปริมาณสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งให้ตาย ซึ่งเม็ดเลือดปกติในร่างกายก็อาจจะตายตามไปด้วย จึงต้องให้เซลล์ต้นกำเนิดที่เก็บเอาไว้ก่อนหน้านี้กลับเข้าไปทดแทน
จึงเรียกวิธีการนี้ว่า “การปลูกถ่ายไขกระดูก” ซึ่งเป็นการนำเซลล์ตัวอ่อนต้นกำเนิดมาทดแทนเซลล์ที่ตายไป ด้วยวิธีนี้ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเลือดได้มีโอกาสหายขาดได้ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง
เซลล์ตัวอ่อนต้นกำเนิด(Stem cell) เอามาจากไหน?
สเต็มเซลล์ นำมาจากไขกระดูกหรือได้จากการปั่นแยกออกมาจากกระแสเลือด หรือได้จากเลือดที่อยู่ในรกของทารก(ที่ติดมากับทารกขณะคลอด)
อย่างไรก็ตามการปลูกถ่ายไขกระดูกจะสามารถทำได้สำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่น
- ต้องมีแหล่งของเซลล์ตัวอ่อนต้นกำเนิดที่บริจาค และนำมาทดแทนให้กับผู้ป่วย
- ต้องใช้ของตัวเองที่ทำการเก็บไว้ก่อน วิธีนี้มีความเสี่ยงในการทำน้อย โอกาสเสียชีวิตจากการทำน้อยกว่า 10%
- อีกวิธีคือการใช้เซลล์จากพี่น้องท้องเดียวกันที่ตรวจแล้วว่ามีลักษณะทางพันธุกรรมที่เข้ากันได้มาปลูกถ่าย แต่การใช้เซลล์ของคนอื่นก็มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากกว่า ขณะที่โอกาสที่โรคมะเร็งจะกลับมาเป็นใหม่ก็น้อยกว่าด้วย อายยุยิ่งน้อยยิ่งมีโอกาสรอดสูง(ช่วง 20-40 ปี)
การปลูกถ่าย ‘ไขกระดูก’ นับเป็นวิธีการรักษาที่อันตรายและสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้รุนแรง แต่เพื่อแลกกับการรักษาชีวิตก็นับว่าคุ้มค่าแม้ว่ายังมีข้อจำกัดอีกมากก็ตาม
การรักษามะเร็งทางโลหิตด้วยวิธีการปลูกถ่ายไขกระดูกนี้เพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้มากน้อยแค่ไหน?
“ขึ้นกับโรคที่เป็นครับ..” ถ้าเป็นโรคไขกระดูกฝ่อ โอกาสสำเร็จมีมากกว่า 90% แต่ถ้าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวก็ขึ้นกับว่าเป็นมะเร็งชนิดไหน? เพราะหลังจากปลูกถ่ายไขกระดูกแล้วบางรายอาจจะประสบผลสำเร็จแต่อาจกลับมาเป็นใหม่ได้ เพราะไม่ใช่หายขาดได้ 100% แต่มีบางคนที่หายขาดได้อยู่
ข้อจำกัดในการรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายไขกระดูกคือ
โดยหลักการแล้วเราจะพยายามหาคนที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่เหมือนกัน 100% มาทำ (โดยการตรวจที่เรียกว่า human luekocyte antigens (HLA))
การใช้ของตัวเองมีข้อดีคือโรคแทรกซ้อนน้อยแต่ปัญหาคือมะเร็งมักกลับมาใหม่ได้เพราะเซลล์มะเร็งอาจหลงเหลืออยู่ในสเต็มเซลล์ที่เราเก็บไป
ฉะนั้นการใช้สเต็มเซลล์ของคนอื่นจะมีโรคแทรกซ้อนและผลข้างเคียงมากกว่าในเรื่องการต่อต้านกันระหว่างเซลล์ของผู้ให้กับของผู้รับ แต่โอกาสที่มะเร็งจะกลับมาใหม่ก็น้อยกว่า
เนื่องจากการปลูกถ่ายไขกระดูกนั้นถ้าจะเลือกปลูกถ่ายจากเซลล์ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน 100% คงเป็นเรื่องยาก โดยปกติเซลล์ของคนเราที่ใกล้เคียงกันมากที่สุดจะได้จากพี่น้องท้องเดียวกันนี่แหล่ะ
เพราะคนเรามีโครโมโซมอยู่ 2 ชุดเวลาให้กำเนิด ลูกจะเอาของพ่อมาชุด เอาของแม่มาอีก1ชุด ก็กลายเป็นชุดของลูกขึ้นมา เนื่องจากพี่น้องเอาของพ่อและของแม่ชุดเดียวกันมาก็แปลว่ามีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน
ถ้าเอามาทำการปลูกถ่ายไขกระดูก ภาวะแทรกซ้อนหรือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะค่อนข้างน้อย แต่ถ้าเอาเซลล์ที่ไม่เข้ากันนักมาทำปฏิกิริยาต้านที่เกิดขึ้นก็จะมากขึ้นด้วย
ที่จริงการได้เซลล์มาจากพี่น้องนั้นมีโอกาสที่จะเหมือนกัน 100% ได้เพียง 1 ใน 4 เท่านั้น (โอกาสที่จะเหมือนกัน 50% มี 2ใน 4 และโอกาสที่จะไม่เหมือนกันเลยอีก1/4) ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากทีเดียวที่จะหาผู้บริจาคที่เหมือนได้ 100% จริงๆ
บางรายถึงจะมีพี่น้องท้องเดียวกันตั้ง 6-7 คน แต่กลับไม่มีคนไหนที่เหมือนกันเลยก็มี ดังนั้นในทางปฏิบัติเราไม่สามารถจะได้เซลล์ที่เหมือนกันเอามาปลูกถ่ายไขกระดูกได้บ่อยนัก
ส่วนใหญ่แล้วจะหาได้ก็ไม่เกิน 20-25% ดังนั้นหากสามารถใช้เซลล์ของพ่อแม่มาปลูกถ่ายให้ลูกหรือเอาเซลล์ของลูกมาปลูกถ่ายให้พ่อแม่ ก็เป็นอะไรที่ง่ายขึ้น (Haploid)
การปลูกถ่ายไขกระดูกจาก stem cell ที่ลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันเพียงครึ่งเดียวทำได้อย่างไร?
ปัจจุบันการปลูกถ่ายไขกระดูกมีการพัฒนาไปมาก มีการใช้เคมีบำบัด(คีโม)ไม่สูงมาก บวกกับการให้ยากดภูมิต้านทานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และไม่ได้แยก T-cell ออกไป ผู้ป่วยก็รอดชีวิตได้โดยไม่ต้องใช้เทคนิคพิเศษที่ราคาแพง
วิธีที่ใช้ stem cell ที่ลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันเพียงครึ่งเดียวนี้ เราจะให้ยากดภูมิต้านทานเพื่อไม่ให้เซลล์ที่ใส่เข้าไปมีปฏิกิริยามากเกินไป
ข้อดีคือมันจะมีผลต่อสู้กับเซลล์มะเร็งด้วย แปลว่าเซลล์ภูมิต้านทานจะสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น แต่จะได้ผลดีแค่ไหนขึ้นอยู่กับการรักษาสมดุลของการให้ยากดภูมิต้านทานให้ดี
เพื่อให้เซลล์ที่ใส่เข้าไปใหม่ต่อสู้กับเซลล์มะเร็งได้ ขณะเดียวกันก็ต้องไม่สู้กับเซลล์ปกติของผู้รับมากเกินไป
โดยสรุปแล้วเทคนิคที่พัฒนาขึ้นมานี้มีประโยชน์คือ
- สามารถใช้พ่อ แม่ ลูกหรือพี่น้องของผู้ป่วย ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เหมือนกันเพียงครึ่งเดียวมาบริจาคสเต็มเซลล์เพื่อปลูกถ่ายไขกระดูกได้
- ระยะเวลาที่ในการหาผู้บริจาคสั้น
- ค่าใช้จ่ายในการทำใกล้เคียงกับการปลูกถ่ายธรรมดา (เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแยกเซลล์)
- ภาวะแทรกซ้อนพอควบคุมได้ ใกล้เคียงกับการปลูกถ่ายไขกระดูกธรรมดา
ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เป็นปกติและมีผลข้างเคียงในระดับที่ควบคุมได้ ไม่แตกต่างจากการปลูกถ่ายไขกระดูกแบบธรรมดาที่ใช้เซลล์ตัวอ่อนจากพี่น้องที่มีลักษณะเหมือนกัน 100%
(สามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้เหมือนคนปกติ) และก่อนที่เราจะตัดสินใจรักษาวิธีนี้ เราจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลหลายอย่างก่อนการตัดสินใจเสี่ยง เพราะถ้าไม่มั่นใจว่าทำแล้วมันคุ้มที่จะเสี่ยงเราจะไม่ทำ
และนี่คือพัฒนาการด้านการแพทย์ที่สามารถเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งเลือดได้ ให้พวกเขามีความหวังที่จะอยู่ได้บนโลกใบนี้ต่อไปเช่นคนปกติ
>> ป้องกันและต้านมะเร็งด้วย Nutriga <<
>> โรคเสื่อม ส่งผลร้ายต่อร่างกายเราอย่างไร <<