FAQ, ไขมันในเลือด

ทำไมเราถึงเสี่ยงเป็นโรค “ไขมันในเลือด” สูง

%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%94-hyperlipidemia

ทำไมถึงมีภาวะ “ไขมันในเลือด” สูง

ตอนที่เราเกิดมาใหม่ๆนั้น หลอดเลือดของเราจะสะอาด ไขมันในเลือดจะต่ำมาก และยังไม่มีไขมันเกาะที่ผนังหลอดเลือด แต่พออายุมากขึ้นและมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

เราก็จะมีไขมันมาเกาะที่ผนังหลอดเลือดสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะเป็นโรคไขมันในเลือดสูง ความน่ากลัวของโรคนี้ไม่ได้อยู่ที่ตัวมันเอง แต่อยู่ที่โรคที่จะเป็นหลังจากที่มีไขมันในเลือดสูง

เพราะเมื่อมีไขมันเกาะที่ผนังเลือดมากขึ้น หลอดเลือดก็จะมีช่องที่เล็กลง(หลอดเลือดตีบ) ทำให้เลือดไหลผ่านได้ยากขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น

ไขมันในเลือดจะทำให้หัวใจทำงานหนักจนเป็นความดันสูง

เพราะต้องใช้แรงเพิ่มมากขึ้นในการปั๊มให้เลือดไหลเวียนได้ทั่วร่างกาย ส่งผลให้ความดันของเราสูงขึ้นจนเป็นโรคความดันสูง

นอกจากนี้ถ้าหลอดเลือดที่ติดหรืออุดตันเป็นหลอดเลือดที่หัวใจ ก็จะทำให้มีโอกาสเป็นโรคหัวใจวายเสียชีวิตได้ หรือถ้าเป็นหลอดเลือดที่สมองตีบหรืออุดตันก็มีโอกาสที่หลอดเลือดในสมองจะแตก

ทำให้เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตหรือตายได้เช่นกัน ถ้าเกิดตีบตันที่หลอดเลือดอวัยวะเพศ ก็จะทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อม หรือถ้าตีบตันที่หลอดเลือดที่เลี้ยงตับก็ทำให้เป็นโรคตับได้

พูดง่ายๆว่า ไขมันในเลือด เป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังแทบทั้งหมด เมื่อไขมันในเลือดสูงบริเวณไหน อวัยวะตรงนั้นก็จะมีปัญหานั่นเอง..

ไขมันดีและไม่ดี

ไขมันในเลือด มีอยู่หลายชนิดแต่ที่มีความสำคัญได้แก่ คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ โดยไขมันในเลือดก็เหมือนกับไขมันในอาหาร ที่มีทั้งส่วนที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษปะปนกันอยู่

ปลาจะมีไขมันดี (HDL คอเลสเตอรอล)

  • ไขมันดี (HDL คอเลสเตอรอล) ไขมันประเภทนี้จะทำหน้าที่ลำเลียงคอเลสเตอรอลไปใช้ที่ตับ ทำให้ไขมันอุดตันตามเส้นเลือดน้อยลง

ฉะนั้นไขมันประเภทนี้ยิ่งเรามีมากก็ยิ่งดี (อย่างน้อยควรมีมากกว่า 40-45  มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ไขมันประเภทนี้จะมีมากในอาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น ปลา ถั่ว

  • ไขมันไม่ดี (LDL คอเลสเตอรอล) ถ้าเรามีไขมันประเภทนี้มากเกินไป (มากกว่า 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย

เราจึงต้องควบคุมไม่ให้มีไขมันประเภทนี้มากเกินไป โดยไขมันประเภทนี้จะมีมากในอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงเช่น ไขมันสัตว์ ยกเว้นปลา น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เนย ชีสต์

เนยมีไขมันไม่ดีต่อร่างกาย

  • ไขมันไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย โดยอาหารพวกแป้งและน้ำตาล รวมทั้งโปรตีนที่เหลือใช้จะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์

และถูกเก็บสะสมไว้ที่ชั้นไขมันเพื่อเป็นพลังงานสำรอง นอกจากนี้ไตรกลีเซอไรด์ยังช่วยในเรื่องการดูดซึมวิตามิน  A D E K ด้วย

อย่างไรก็ตามมีข้อมูลบ่งชี้ว่า การมีไขมันชนิดนี้มากเกินไป (มากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ก็จะทำให้เราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตับอ่อนอักเสบ(ทำให้เป็นเบาหวาน)

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่อ้วน เป็นเบาหวาน ความดันสูง และมีระดับ HDL คอเลสเตอรอลต่ำ ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องควบคุมไม่ให้มีไตรกลีเซอไรด์มากเกินไปเช่นกัน (ไขมันประเภทนี้จะมีมากในไขมันสัตว์)

สาเหตุที่ทำให้ไขมันในเลือดสูง

สาเหตุของโรคไขมันในเลือดสูงมีหลายปัจจัย แต่สาเหตุหลักก็คือ การกินอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งมักจะพบในไขมันสัตว์และในน้ำมันพืชบางชนิด

มะพร้าวและกะทิมีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ทำให้ไขมันในเลือดสูง

เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ นอกจากนี้ยังรวมถึงการกินน้ำตาลมากเกิน การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ รวมถึงคนที่อ้วน คนที่ขาดการออกกำลังกาย คนที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันสูง และมีกรรมพันธุ์ ก็อาจเป็นสาเหตุนึงที่ทำให้ไขมันในเลือดสูงได้

เนื้อของสัตว์แต่ละประเภทจะมีไขมันอิ่มตัวและพลังงานไม่เท่ากันเช่น ในปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะที่เท่ากัน หมู,เนื้อจะมีโปรตีน 8 กรัม,ไขมัน 8 กรัม พลังงาน 150 กิโลแคลอรี่

ถ้าเป็นไก่-เป็ดก็จะมีโปรตีน 7 กรัม,ไขมัน 3 กรัมพลังงาน 55 กิโลแคลอรี่ (ไขมันส่วนใหญ่อยู่ที่หนัง และจะอยู่ในเนื้อน้อย) ปลา,ถั่วจะมีโปรตีน 7 กรัมไขมัน 1 กรัม พลังงาน 35 กิโลแคลอรี่

จะเห็นว่าในปริมาณเท่ากัน เนื้อสีแดง (หมู เนื้อ) จะให้พลังงานสูงกว่าหลายเท่า (กินแล้วอ้วนง่ายกว่า) และมีไขมันสูงกว่าแหล่งโปรตีนอื่นหลายเท่า โดยส่วนใหญ่จะเป็นไขมันอิ่มตัวที่ทำให้เรามี LDLคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น

เนื้อแดงมีไขมันสูงและทำให้เรามีคอเลสเตอรอลมากขึ้น

พอหันกลับมามองอาหารประเภทโปรตีนที่เราและลูกหลานกินกันเป็นประจำเราจะพบเลยว่า คนส่วนใหญ่มักจะกินเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อสีแดงแทบทุกวัน ไม่ค่อยได้กินปลาหรือถั่ว

จึงทำให้เราได้รับ LDL คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์มากเกินไป ,ส่วนHDLคอเลสเตอรอลก็ได้รับน้อยเกินไป  จึงส่งผลให้ไขมันในเลือดสูงและเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆตามมาอีกมากมาย

นอกจากเราจะได้รับไขมันส่วนเกินจากเนื้อสัตว์ที่เรากินแล้ว เรายังได้รับไขมันจากน้ำมันที่ใช้ในการปรุงอาหารด้วยวิธีการทอดหรือผัดเช่น หมูทอด ไก่ทอด ไข่เจียว ไข่ดาว ผัดซีอิ้ว

ผัดกระเพรา ผัดไทย ข้าวผัด แฮมเบอร์เกอร์ มันฝรั่งทอด สปาเก็ตตี้ ขนมขบเคี้ยว โดนัท ฯลฯ

อาหารพวกผัดไทยผัดซีอิ๊วใช้น้ำมันปาล์มที่อุดมด้วยไขมันไม่ดีต่อสุขภาพ

อาหารทอดๆส่วนใหญ่จะใช้น้ำมันปาล์มซึ่งมีไขมันอิ่มตัวประมาณ 6 กรัมต่อน้ำมัน 1 ช้อนโต๊ะ นั่นแปลว่าเพียงแค่ 3 ช้อนโต๊ะครึ่งเราก็ได้ไขมันอิ่มตัวมากเกิน 20 กรัมแล้ว

ส่วนอาหารที่ใช้น้ำมันถั่วเหลืองเราก็ยังคงได้รับไขมันอิ่มตัวประมาณ 2.5 กรัมต่อน้ำมัน 1 ช้อนโต๊ะ การกินมากกว่า 8 ช้อนโต๊ะ ก็ทำให้เราได้รับไขมันอิ่มตัวมากเกินไปอยู่ดี..

รวมถึงการกินอาหารที่ใช้ส่วนผสมที่มีไขมันอิ่มตัวเป็นส่วนผสม เช่น พิซซ่าใช้ยีสต์ผสม ขนมปังทาเนย สปาเก็ตตี้คาโบนาร่า ช็อคโกแลต คุกกี้ และอาหารที่ใช้กะทิเป็นส่วนผสม(ไขมันจากมะพร้าว)

เช่น แกงเขียวหวาน บัวลอยกะทิ กล้วยบวชชี สิ่งเหล่านี้จะยิ่งทำให้เราได้รับไขมันอิ่มตัวเข้าไปจำนวนมาก ทำให้ไขมันในเลือดสูงและเป็นโรคเรื้อรังได้เช่นกัน

แม้แต่คนที่ชอบกินผัก กินเจ มังสวิรัติ ที่ทำไปด้วยความคาดหวังว่าจะมีสุขภาพที่ดี แต่ถ้ากินอาหารที่ใช้น้ำมันในการทำอาหารเช่น ผัดผัก เต้าหู้ทอด เผือกทอด ข้าวมันไก่เจ

ผัดผักอุดมด้วยไขมันอิ่มตัว ทำให้ไขมันในเลือดสูงได้

คนเหล่านี้ก็จะได้รับไขมันอิ่มตัวเข้าไปจำนวนมากเช่นกัน คนกลุ่มนี้ก็เลยอาจป่วยเป็นโรคเรื้อรังได้แทนที่จะมีสุขภาพดี

วิธีป้องกันและแก้ไข

ในส่วนของโปรตีนเราก็ควรเลือกกินโปรตีนให้หลากหลาย โดยเลือกกินโปรตีนจากปลาและถั่วให้ได้อย่างน้อย 2-4 ครั้ง/สัปดาห์ โดยเราต้องกินไขมันดีจากปลาและถั่วให้มากพอ เพื่อให้ได้ไขมันดีที่จะช่วยเพิ่ม HDLคอเลสเตอรอล และลด LDLคอเลสเตอรอล

ควรลดการทานของทอดหรือของผัด

ควรลดอาหารทอดหรือผัด (วันนึงไม่ควรเกิน 1-2 จาน เพราะวันนึงเราไม่ควรกินไขมันเกินวันละ 65 กรัมหรือ 4 ช้อนโต๊ะ) แล้วลดอาหารที่ใช้ไขมันอิ่มตัวเป็นส่วนผสม (มีชีสต์ เนย กะทิ) โดยในวันนึงเราไม่ควรได้รับไขมันอิ่มตัวมากกว่า  20 กรัม

เลือกกินอาหารที่ใช้วิธีการนึ่ง อบ ย่างแทน แต่ถ้าต้องกินอาหารทอดหรือผัดก็เลือกที่ใช้น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันคาโนล่า

หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันข้าวโพด น้ำมันทานตะวัน น้ำมันงา

รวมถึงควรออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที อาทิตย์ละ 3-6 วัน ควบคุมน้ำหนักอย่าให้เกินมาตรฐาน กินผักผลไม้ หรือธัญพืชให้มากขึ้นเพื่อลดไขมันในเลือด ควรเลือกทานผลไม้เป็นประจำ

และหยุดสูบบุหรี่เพราะสารในบุหรี่จะลดระดับ HDLคอเลสเตอรอลได้ เพียงรู้จักเลือกกินอาหารให้ถูกหลักถูกวิธีเท่านี้ ก็จะทำให้เราไม่ต้องเสี่ยงต่อการมีไขมันในเลือดสูงอีกต่อไป

ซึ่งจะทำให้เป็นโรคเรื้อรังตามมาได้อีกมากมาย…

ออริซามินหยุดโรคไขมันเกาะตับ orysamin

อาหารเสริมออริซามิน Orysamin น้ำมันรำข้าว ลดไขมันในเลือด ลดคอเลสเตอรอล

บทความที่น่าสนใจ

error: do not copy content!!