FAQ, ยาไมเกรน ร้ายกว่าที่คิด

ทำไม ยา’ไมเกรน’ ร้ายกว่าที่คิด

%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%99-danger

ไมเกรน หรือ โรคปวดศีรษะ เป็นโรคที่พบได้บ่อยและรู้จักกันดีในคนทั่วไปในปัจจุบัน  โดยเป็นโรคปวดศีรษะที่เกิดจากสมองมีความไวมากกว่าปกติ เวลามีสิ่งกระตุ้น เช่น นอนน้อย, มีความเครียด, อากาศเปลี่ยน, เจอแสงแดด

ก็จะทำให้ระบบสมองหลั่งสารเคมีบางชนิดออกมา ทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเลือดและเส้นประสาท รวมทั้งทำให้เกิดการคลื่นไส้และอาเจียนอีกด้วย

คนไทยเป็นโรคไมเกรน มากถึง 8 ล้านคน ซึ่งส่วนมากมักจะซื้อ ยาไมเกรน มารับประทานเอง และยาที่นิยมรับประทานเพราะเป็นยาที่ราคาถูก หาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยา คือ เออร์โกทามีน (Ergotamine)

สารเออร์กอต (Ergot) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของตัวยาเออร์โกทามีนนั้น ถูกค้นพบโดยคนที่รับประทานธัญพืชหรือขนมปังที่มีการติดเชื้อราชนิดหนึ่งเข้าไปชื่อ Claviceps purpurea

แล้วเกิดอาการแสบร้อนและเกิดการเน่าที่ปลายมือ-ปลายเท้าจากการขาดเลือด ต่อมาก็พัฒนาสกัดเอาตัวยาเออร์โกทามีนออกมาจากสารเออร์กอตได้เป็นผลสำเร็จ

และได้นำเออร์โกทามีนมาใช้ในการรักษาไมเกรนได้เป็นผลดี จึงมีการใช้อย่างแพร่หลายมาตั้งแต่นั้นมา

เออร์โกทามีน จะออกฤทธิ์ไม่จำเพาะเจาะจงในระบบประสาท โดยจะไปกระตุ้นตัวรับในสมองหลายชนิด ทำให้สารสื่อประสาทในสมอง เช่น สารซีโรโทนิน (serotonin), โดปามีน (dopamine), นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) มีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งยังทำให้เส้นเลือดเหดตัว

เออร์โกทามีนที่มีในท้องตลาดมักผสมคาเฟอีนเข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มการดูดซึมยา ซึ่งจากผลของตัวยาเออร์โกทามีนเองนั้น จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

จึงไม่ควรใช้ยาชนิดนี้ในผู้ที่มีอาการไมเกรนร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งอาจทำให้ความดันโลหิตสูงจากฤทธิ์ที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ในรายที่ใช้ยามากกว่า 10 เม็ดต่อเดือน

อาจทำให้อาการปวด ไมเกรน เป็นมากขึ้นได้เรียกว่า ปวดศีรษะจากการใช้ยาแก้ปวดเกินขนาด (Medication overuse headache)

ยาไมเกรนอันตรายกว่าที่คิด

การใช้เออร์โกทามีนร่วมกับยาอื่นๆเช่น ยาต้านเศร้า (Antidepressants), ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics), ยาฆ่าเชื้อรา (Antifungals), ยาต้านไวรัส HIV, ยารักษาโรคจิต (Antipsychotics)

จะทำให้ระดับยาเออร์โกทามีนในร่างกายสูงขึ้นเป็นอย่างมาก จนเกิดเส้นเลือดหดตัวอย่างรุนแรงทำให้สมองขาดเลือด หัวใจขาดเลือด ปลายมือปลายเท้าเน่าจากการขาดเลือดได้ และอาจถึงแก่ชีวิต

ข้อห้ามในการใช้ยาเออร์โกทามีน

  • ห้ามใช้ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ยังควบคุมไม่ได้
  • ห้ามใช้ในผู้ที่มีการทำงานของตับหรือไตผิดปกติ
  • ห้ามใช้ในผู้ที่มีโรคเส้นเลือดตีบตันหรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อเส้นเลือดตีบตัน เช่น ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมอง เส้นเลือดหัวใจ เส้นเลือดส่วนปลายผิดปกติ

เนื่องจากตัวยามีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดเกิดการหดตัว ทำให้เส้นเลือดตีบตันที่เป็นอยู่เดิมเกิดการตีบตันมากขึ้นจนอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

  • ห้ามใช้คู่กับยาแก้ปวดชนิดทริปแทน (Triptans) เนื่องจากจะทำให้เส้นเลือดหดตัวอย่างรุนแรง
  • ห้ามใช้ยาที่มีเออร์โกทามีน ในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้แท้งบุตรได้

ในรายที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนไม่บ่อย (น้อยกว่า 2 ครั้งต่อเดือน) และไม่มีโรคประจำตัว หรือไม่ได้รับประทานยาชนิดอื่นๆอยู่ สามารถรับประทานยาแก้ปวด

เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol), ยาลดการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs; Ibuprofen, Naproxen, Mefenamic acid, Diclofenac เป็นต้น),เออร์โกทามีน, หรือยาในกลุ่มทริปแทนได้

การใช้ยาเออร์โกทามีนอย่างถูกต้องนั้น ควรใช้เฉพาะเวลาปวดศรีษะไมเกรนเท่านั้น การรับประทานติดต่อกันทุกวันเป็นการใช้ยาที่ผิด และยาชนิดนี้ไม่ควรรับประทานเกิน 3 เม็ดต่อสัปดาห์

หรือต่อเนื่องมากกว่า 3 วัน เนื่องจากการรับประทานยาที่มากเกินไปอาจเกิดผลข้างเคียงจากตัวยาแล้วทำให้เกิดอาการปวดศีรษะมากขึ้น

รับมือกับไมเกรน

แม้ว่า ไมเกรน จะรักษาไม่หาย แต่ผู้ป่วยก็สามารถดูแลตัวเองเพื่อบรรเทา และลดความถี่ในการถูกกระตุ้นได้โดยปฏิบัติดังนี้

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นไมเกรน ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่บางคนอาจมีปัจจัยกระตุ้นอื่นอีกได้ ทางที่ดี ควรหมั่นสังเกตตัวเองให้ดี รวมทั้งพิจารณาจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นนั้น ๆ
  • นอนหลับให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมงแต่อย่าให้มากเกินไป  พยายามเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาทุกวัน
  • หยุดพักเมื่อมีอาการ ถ้าเป็นไปได้ควรพยายามพักผ่อนในห้องเงียบ ๆ มืด ๆ ร่วมกับการประคบเย็นบริเวณต้นคอ พร้อมกับนวดบริเวณที่ปวดก็จะช่วยบรรเทาอาการได้
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่น้อยกว่า 30 นาที จะช่วยให้ร่างกายโดยรวมแข็งแรง และลดความเครียดซึ่งอาจจะช่วยลดความถี่ของการปวดได้
  • เสริมอาหารเช่น เบต้ากลูแคนเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ระบบประสาท ลดการอักเสบของเส้นเลือดและเส้นประสาท

ดังนั้นด้วยผลข้างเคียงจากยาไมเกรนที่มีผลอันตรายต่อร่างกายของผู้ใช้ได้นั้น จึงควรเลือกในช่วงเวลาจำเป็นและใช้เฉพาะเวลาปวดเท่านั้น

อาหารเสริมบำรุงร่างกายเบต้ากลูแคน นูทริก้า nutriga

 >> รายละเอียดสินค้า : นูทริก้า (Nutriga) << 
>> เบต้ากลูแคนกับการรักษาโรคร้าย <<

error: do not copy content!!