FAQ, อาการดื้อยาแก้อักเสบ

ยาแก้อักเสบ…ทานอย่างไรไม่ให้ดื้อยา?

%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%9a-anti-biotic-drug

ไม่อยากมีอาการดื้อยา…ควรทาน ยาแก้อักเสบ อย่างไร?

เชื่อหรือไม่​ว่าทุกคนมีสิทธิ์ดื้อยาได้ถ้ากินไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาปฏิชีวนะ​(Antibiotic)​หรือ ยาแก้อักเสบ ซึ่งในบางรายที่ไม่ศึกษาข้อบ่งชี้การกินยาอย่างละเอียด

การกินยามากไป กินไม่ครบตามที่หมอสั่ง​ กระทั่งการซื้อยากินเอง​ ซึ่งอาจจะไม่ถูกกับโรค ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้คุณดื้อยาได้ทั้งนั้น การดื้อยาปฏิชีวนะจะทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนแปลงไป

จุดเริ่มของการดื้อยา

เรารู้กันดีว่ายาไม่ใช่อาหาร​ แต่ก็มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่เห็นว่ายาบางชนิดมีความจำเป็นเช่นเดียวกับอาหาร​ เพราะสามารถป้องกันการเจ็บป่วยเบื้องต้นได้​เช่น รู้สึกไม่สบาย​ มีไข้ขึ้นสูง​ และไอหนัก​

รู้สึกไม่สบาย มีน้ำมูก เป็นไข้

ไปซื้อยาแก้ไข้กับยาแก้ไอมากินเองอยู่สามวัน​ แต่อาการไม่ดีขึ้น​ แถมคราวนี้มีอาการหอบเพิ่มด้วย​ ก็เลยไปหาหมอที่คลินิก​ หมอวินิจฉัยว่าน่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ​

ก็ให้ ยาแก้อักเสบ มากินพร้อมกับยาแก้ปวด​ แก้ไข้​ แก้ไอ กินผ่านไปสักสามสี่วันรู้สึกว่าไข้ลดลง อาการหอบหายไป​ และไม่ไอหนักเหมือนเก่า​ ก็คิดว่าเราน่าจะหายแล้ว​ เลยตัดสินใจหยุดยา…

ทิ้งช่วงอยู่สัก 2 อาทิตย์อาการเดิมกลับมาอีก​ คราวนี้ไข้ขึ้นสูงมาก​ ปวดหัวจนน้ำตาไหล​ เริ่มรู้สึกว่าตัวเองมีอาการหายใจเร็วขึ้น​ หอบจนตัวโยน  เลยเอายาที่เหลือมากินต่อจนหมดก็ไม่หาย​

ยาปฏิชีวนะ หรือ ยาแก้อักเสบ

ไม่รู้จะทำยังไง​ ก็เลยตัดสินใจไปโรงพยาบาลเพื่อให้หมอตรวจอย่างละเอียด​ หลังจากซักถามประวัติเอกซเรย์ปอด​ ตรวจเสมหะและเลือดอย่างละเอียด​ หมอวินิจฉัยว่าดิฉันเป็นโรคปอดอักเสบ​ ต้องรับยาปฏิชีวนะและนอนโรงพยาบาลเพื่อดูอาการอย่างน้อย 2-3วัน

นอนโรงพยาบาลได้หนึ่งวัน​ แต่อาการกลับไม่ทุเลา​ และมีอาการอักเสบติดเชื้อแบคทีเรียในปอดเพิ่มขึ้น​ ซึ่งหลังจากหมอตรวจผลการเพาะเชื้อโดยละเอียดก็บอกว่า​ ร่างกายไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาแก้อักเสบที่หมอให้​ ต้องเปลี่ยนยาตัวใหม่แทน

ทำไมจึงเกิดการดื้อยา(ในเคสนี้)

ในช่วงที่รับประทานยาแก้อักเสบ ยาจะเข้าไปทำลายหรือหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด​ เช่น​ สมมติว่าร่างกายเราในขณะนั้นมีเชื้อแบคทีเรียอยู่ประมาณหนึ่งหมื่นตัว​ ยาจะเข้าไปทำลายเชื้อแบคทีเรียให้ลดลงจนเหลือหนึ่งพันตัว​เป็นต้น

ระหว่างที่ยาปฏิชีวนะทำลายเชื้อแบคทีเรีย​ ตัวแบคทีเรียเองก็จะมีการต่อต้าน​เช่น​ พยายามสร้างกลไกไม่ให้ยาซึมผ่านเข้าไป​ หรือสร้างเอ็นไซม์ขึ้นมาเพื่อทำลายฤทธิ์ยาที่เข้ามานั้นๆ

การทานยาไม่ถูกวิธี ส่งผลให้เกิดภาวะดื้อยาปฏิชีวนะ

ถ้าเรากินยาตามแพทย์สั่งจนครบจะทำให้เชื้อแบคทีเรียลดจำนวนลงจนตายหมดทุกตัว​ จนทำให้ไม่มีเชื้อแบคทีเรียที่เคยรับรู้ว่ายาชนิดนี้เคยทำลายมันได้หมดไป​ แต่ถ้าเราหยุดกินยาหรือกินยาไปแค่สองสามวัน​ พออาการดีขึ้นก็หยุดยาทันที​

จะทำให้เชื้อแบคทีเรียที่เหลืออยู่เริ่มรับรู้ว่ามียาที่สามารถทำลายมันได้​ มันก็เริ่มจะสร้างกลไกปกป้องตัวเอง​ ด้วยเหตุนี้พอเรากลับมาป่วยเป็นโรคเดิมอีก​ การกินยาตัวเดิมจึงรักษาไม่ได้​ เพราะร่างกายเกิดการดื้อยาไปแล้ว

นอกจากนี้การกินยาไม่ถูกกับโรค​ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายของเราดื้อยาได้​ เพราะคนส่วนใหญ่เข้าใจผิด คิดว่าเวลาไปหาหมอต้องขอยาปฏิชีวนะหรือที่ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นยาแก้อักเสบมากินควบคู่กันไปโรคถึงจะหายขาด​

ทั้งที่ความจริงไม่จำเป็นต้องกิน รวมถึง​การซื้อยามากินเองก็อาจส่งผลให้เกิดการดื้อยาได้​ เพราะ​ยาที่ซื้อมาอาจไม่ตรงกับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการป่วย​ เช่น​ ป่วยจากโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส​ แต่ไปซื้อยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย​

การซื้อยามาทานด้วยตัวเอง

แบบนี้พอกินเข้าไปก็รักษาไม่หาย​ และมีโอกาสทำให้เชื้อดื้อยาได้อีกเช่นกัน ตัวอย่างการดื้อยาข้างต้น มาจากพฤติกรรมการกินยาโดยแท้ บางคนก็ฟังแบบเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา​

เพราะรู้ว่าเขาเขียนรายละเอียดติดซองยาไว้แล้ว​ อ่านเองก็ได้​ พอกินไปได้สักพัก​ เห็นอาการดีขึ้นเราก็หยุด​ เชื้อโรคมันไม่ตาย​ ก็ส่งผลเสียในระยะยาว​ ถึงขนาดต้องเปลี่ยนยารักษาสองสามรอบ

การเปลี่ยนยาตัวใหม่ ส่งผลร้ายกว่าที่คิด

เมื่อยาตัวเก่ารักษาไม่ได้ผล​ คุณหมอจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะตัวใหม่ ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่แรงกว่า​ แต่เนื่องจากโรงพยาบาลแห่งนี้มีชนิดยาให้เลือกนำมาใช้กับคนไข้น้อย​ ทำให้หมอตัดสินใจใช้ยาแก้อักเสบตัวที่มีอยู่​ซึ่งมีราคาแพง

แต่หลังเปลี่ยนยาตัวใหม่​ 3 วันต่อมาก็มีอาการแย่ลงกว่าเดิม​ แถมมีอาการแทรกซ้อนซึ่งเกิดจากการใช้ยาอีกมากมายจนตั้งตัวไม่ติด อาเจียนตลอดเวลา​ ปวดหัวมากขึ้น​ มีไข้สูง​ อ่อนเพลีย​ ไม่มีแรง​ เบื่ออาหาร​ ไม่อยากพูดคุยกับใคร​

จนไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทั้งที่เปลี่ยนยาแล้วทำไมอาการไม่ดีขึ้น​ หมอบอกว่าเป็นผลข้างเคียงจากการเปลี่ยนไปใช้ยาที่แรงขึ้น เป็นอาการแทรกซ้อนจากโรคปอดอักเสบ

รักษาตัวในการดูแลของแพทย์

การรักษาโรคของคนไข้ที่มีอาการดื้อยาปฏิชีวนะนั้นจำเป็นต้องใช้เวลา​ เนื่องจากลักษณะของการดำเนินโรคแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน​ เพราะเชื้อโรคแต่ละประเภทมีระยะเวลาในการฟักตัวแตกต่างกัน​ ที่สำคัญ​คนที่มีประวัติการดื้อยามาแล้วยิ่งรักษายาก​ เพราะไม่รู้ว่ายาตัวใหม่ที่ให้ไปจะรักษาได้หรือไม่

ในกรณีของนี้ซึ่งป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ หากยาที่ให้ไปไม่ได้ผล​ ก็จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนไปใช้ยาที่แรงขึ้นกว่าเดิมอีก​ และถ้าหยุดยากระทันหัน​ ไม่รักษาต่อ​ อาจส่งผลให้ระบบหายใจล้มเหลว​ มีการติดเชื้อในกระแสเลือด​ จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

โชคดีที่หลังจากได้รับยาปฏิชีวนะตัวที่ 3 ควบคู่กับการรับยารักษาตามอาการที่หมอให้​ อาการปอดอักเสบของก็ดีขึ้นตามลำดับ​ ผ่านไปหนึ่งอาทิตย์อาการไอลดลง​ ไข้ก็ลด​ อาการหอบหายไป

หมอบอกว่าร่างกายของเราถูกกับยาปฏิชีวนะ(ยาแก้อักเสบ)ตัวนี้นะ แต่กว่าจะรู้ก็ต้องตรวจพิเศษเพิ่มอีกหลายรายการ​ เสียเงินเพิ่มขึ้น​ ​เสียเวลาญาติพี่น้องที่ต้องเดินทางมาเฝ้าไข้หลายวัน​โทษใครไม่ได้นอกจากตัวเอง

ยาแก้อักเสบมากมายในการรักษาคนไข้

ทำอย่างไรจึงจะไม่ดื้อยา

 1. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีประวัติการแพ้ยา​ เพราะยาที่เคยแพ้มักมีผลข้างเคียงกับเราโดยตรง​ และมีความเสี่ยงต่อการดื้อยาได้

 2. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของยาก่อนกิน​ เพราะยาแต่ละชนิดมีฤทธิ์ในการรักษาที่แตกต่างกัน​ การรู้จักข้อมูลพื้นฐานของยา​เช่น ใช้รักษาโรคอะไร​ ผลข้างเคียงเป็นอย่างไร​ จะช่วยเพิ่มความระมัดระวังในการกินยาให้มากขึ้น​ และลดอัตราเสี่ยงต่อการดื้อยาได้เช่นกัน

 3. ทำตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด​ ทั้งในกรณีที่ดื้อยาและไม่ดื้อยา​ ควรใส่ใจกับรายละเอียดบนซองยา​ เช่น​ กินกี่เม็ด​ กี่เวลา​ เป็นต้น​ เพื่อลดโอกาสการดื้อยาต่อไป

ทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

 4. อย่าหยุดกินยาเมื่ออาการดีขึ้น​ เนื่องจากแบคทีเรียเป็นเชื้อโรคที่พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ​ การกินยาไม่ครบหรือหยุดยาวกระทันหันอาจทำให้เรามีโอกาสดื้อยาได้มากกว่าเดิม

 5. ไม่ควรซื้อยามากินเอง​ เวลาป่วยไข้ควรไปพบแพทย์​ เพื่อให้หมอตรวจวินิจฉัยและจ่ายยาอย่างถูกต้อง​ ซึ่งจะช่วยลดอาการดื้อยาลงได้

ดังนั้นอาการดื้อยาแก้อักเสบนั้นสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ด้วยการให้ความใส่ใจเรื่องการกินยา เพื่อป้องกันผลเสียที่จะส่งผลกระทบถึงชีวิตได้

ใส่ใจและให้ความสำคัญกับการทานยา

บทความที่น่าสนใจ

error: do not copy content!!