FAQ, สารก่อมะเร็งในอาหาร

สารก่อมะเร็ง…ภัยเงียบที่แฝงอยู่ในอาหาร

%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b9%87%e0%b8%87-carcinogens

สารก่อมะเร็ง…ภัยเงียบในอาหารที่คุณไม่เคยใส่ใจ

แม้ว่าเราจะสามารถทำทุกอย่างตามหลักการแพทย์ที่กล่าวถึงในบทความที่ผ่านมาเราได้ทั้งหมด แต่เราก็อาจจะไม่รอดพ้นจากโรคเรื้อรังได้.. เพราะอะไรน่ะหรือ?​ สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น​ไม่ได้เป็นเพราะหลักการที่ว่ามาผิดหรอก​

แต่เป็นเพราะในเมนูอาหารต่างๆที่เรากิน​ยังมีสิ่งที่เป็นอันตราย​ จึงทำให้เป็นเรื่องยากที่เราจะรอดพ้นจากโรคเรื้อรังเหล่านี้ได้

สารก่อมะเร็ง จากอาหารปิ้งย่าง

ผลวิจัยของนักโภชนาการทั้งไทยและต่างประเทศระบุว่า​ ของทอด​ ปิ้ง​ ย่าง​ มีสารที่ชื่อว่า PAH HCA เฮทเทอโรไซคลิกเอมีนและสารอะคริลาไมด์ ​ซึ่งเป็น สารก่อมะเร็ง

อาหารปิ้งย่างอุดมไปด้วยสารก่อมะเร็ง

โดยอาหารที่พบสารเฮทเทอโรไซคลิกเอมีน และสารอะคริลาไมด์ในปริมาณสูง​ ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่ได้รับความร้อนสูงเป็นเวลานาน ​เช่น​ อาหารที่ผ่านการทอดซ้ำหลายๆครั้ง​ (โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีนและมันฝรั่ง) ​

หากเราได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกายอย่างต่อเนื่อง​จะทำให้มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งสูงมาก​ โดยจะก่อให้เกิดโรคมะเร็งที่บริเวณลำไส้ใหญ่​ กระเพาะอาหาร​ เต้านม​ ตับ​ และมะเร็งต่อมลูกหมาก​ นอกจากนี้สารดังกล่าวยังเป็นตัวการทำให้เส้นเลือดแข็ง​ ทำให้เกิดโรคความดันสูงอีกด้วย

ส่วนในอาหารปิ้ง​ ย่าง​ จะมีสารก่อมะเร็งจำนวนมาก​ โดยเฉพาะสาร PAH(Polycyclic aromatic hydrocarbon)​ และ HCA (Heterocyclic​ amines)

อาหารปิ้งย่างจะมีสารก่อมะเร็ง ทำให้เสี่ยงในการเป็นมะเร็ง

เพราะสารเหล่านี้ส่วนหนึ่งจะเกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของไขมันที่อยู่ในเนื้อสัตว์​ ฉะนั้น​อาหารปิ้ง​ ย่าง​ อาหารทอดกรอบ​ อาหารรมควัน​ ที่ไหม้เกรียมก็จะมีสารชนิดนี้(โดยเฉพาะเนื้อติดมันจะมีมาก)

รวมถึงควันที่เกิดจากไขมันที่หยดลงบนถ่านก็จะมี สารก่อมะเร็ง​ ที่จะลอยมาเกาะอาหาร​ ฉะนั้น​ หากเรากินอาหารดังกล่าวบ่อยๆ​ สารก่อมะเร็งก็จะสะสมจนทำให้เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่​ มะเร็งกระเพาะอาหาร​ มะเร็งตับ​ และมะเร็งอื่นๆได้เช่นกัน

เซลล์มะเร็ง

ลองมองย้อนกลับมาดูอาหารที่เรากิน ไม่ว่าจะเป็นลูกชิ้นทอด​ ไก่ทอด​ หมูทอด​ กล้วยทอด​ มันทอด​ เผือกทอด​ เฟรนช์ฟราย (ทั้งในร้านอาหารและริมถนน)

​เราเคยคิดไหมว่า​เขาใช้น้ำมันที่ทอดมากี่ครั้ง​ และอาหารที่ทอดเสร็จแล้วยังขายไม่ได้​ แล้วนำมาทอดซ้ำกี่ครั้งถึงจะขายได้​ ส่วนพวกขนมถุง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป​ โดนัท​ ฟาสต์ฟู้ดที่เรากิน​

เราเคยรู้หรือเปล่าว่าน้ำมันที่ใช้ทอดนั้นดำแค่ไหน (คุณจะตกใจถ้าได้เห็นกับตา) ​รู้มั๊ยว่าบางร้านอาจจะไม่เคยเปลี่ยนน้ำมันที่ใช้ทอดเลยเพียงแค่เติมน้ำมันลงไปในน้ำมันเก่าที่ทอดซ้ำมาหลายๆ ครั้ง

พวกของทอดที่ใช้น้ำมันซ้ำหลายครั้ง เต็มไปด้วยสารก่อมะเร็ง

นอกจากนี้​ ยังมีบางร้านที่เอาน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพมาฟอกสีให้ใส​เพื่อนำไปแบ่งถุงขายปลีก​จำหน่ายในราคาถูกๆ​ ประเทศไทยบริโภคน้ำมันประมาณ 8 แสนตันต่อปี​

โดยร้อยละ 50 เป็นการบริโภคในครัวเรือน​ที่เหลือก็ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร​ โดยมีการนำน้ำมันทอดซ้ำกลับมาแปลงเป็นพลังงานไบโอดีเซลเพียง 5% จึงน่าเป็นห่วงว่า​น้ำมันทอดซ้ำที่เกิดขึ้นในกระบวนการการผลิตอาหารหายไปไหน​

มีการกำจัดอย่างไร​ ทิ้งในสิ่งแวดล้อม?​ หรือมีกระบวนการฟอกเพื่อกลับมาขายให้ผู้บริโภคใหม่? เราจึงไม่มีทางรู้ได้เลยว่า​ น้ำมันที่ดูสีใสเหมือนน้ำมันใหม่ที่ขายตามตลาดนั้น​ ความจริงแล้วเป็นน้ำมันใหม่หรือน้ำมันเก่าที่ทอดซ้ำมาหลายครั้ง​ แล้วอุดมไปด้วยสารก่อมะเร็งกันแน่…

น้ำมันเก่าที่ทอดซ้ำมาหลายครั้ง​ อุดมไปด้วยสารก่อมะเร็ง

ในขณะเดียวกัน​ อาหารประเภทปิ้งย่างที่เรากินเป็นประจำไม่ว่าจะเป็น​ ไก่ย่าง​ หมูปิ้ง​ ปลาดุกย่าง​ เครื่องในย่าง​ ไส้กรอกรมควัน​ ปลารมควัน​ บาร์บีคิว​ สเต็ก (ทั้งในห้างหรือริมถนน)

ที่เราต่างก็เห็นว่าถูกรมด้วยควันที่มาจากถ่าน(ซึ่งมีสารก่อมะเร็ง) ​และมักจะมีเนื้อส่วนที่ไหม้จนดำ​ ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ระบุว่า​ พบสารก่อมะเร็ง​ในไก่ย่าง 30% หมูปิ้ง 40% และในปลาดุกย่างสูงถึง 81%

ไก่ย่างมีสารก่อมะเร็งจำนวนมาก

ไม่รู้ว่า​เราได้รับสารก่อมะเร็งเข้าไปในร่างกายมากแค่ไหน​แล้ว และคงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เรายังคงเสี่ยงเป็นมะเร็ง​ลำไส้ใหญ่​ เต้านม​ ตับ​ มะเร็งต่อมลูกหมาก​ ผิวหนังอยู่

สารเติมแต่งในอาหาร เสริมความเสี่ยงมะเร็ง

นอกจากอันตรายที่เกิดจากวิธีการทำอาหารแล้ว​ สิ่งที่ถูกใส่เพิ่มเติมลงไปในอาหารโดยฝีมือมนุษย์​ ก็ยังสามารถทำให้เราป่วยหรือตายได้​ เช่น​ สารเร่งเนื้อแดง​ สารกันเชื้อรา​ สารบอแรกซ์​ สารฟอกขาว​ สารฟอร์มาลีน

ตลาดสดที่เต็มไปด้วยอาหารสด

โดยสารเหล่านี้​ มักจะพบเจอในอาหารที่ขายในตลาดสด​ เพราะคนขายก็ต้องการให้อาหารที่ขาย​ ดูสดใหม่น่ากิน​ หรือสามารถเก็บรักษาได้นานๆ​ (จะได้ไม่เน่าเสีย) ​

  • สารบอแรกซ์​ หรือน้ำประสานทอง​ ไม่มีกลิ่น​ มีรสขม​ ทำให้อาหารมีลักษณะหยุ่น​ กรอบ​ และมีคุณสมบัติเป็นวัตถุกันเสียด้วย​ อาหารที่มักตรวจเจอบอแรกซ์ได้แก่ หมูสด​ หมูบด​ ปลาบด​ ลูกชิ้น​ ทอดมัน​ ไส้กรอก​ หมูยอ​ เกี๊ยวทอด​ กล้วยทอด​

ผักและผลไม้ดอง​ ทับทิมกรอบ​ ลอดช่องและวุ้น (ให้สังเกตว่าอาหารจะมีลักษณะเด้งกรุบกรอบผิดปกติ)​

  • สารฟอร์มาลีนหรือน้ำยาดองศพ​ เป็นสารละลายที่มีลักษณะเป็นของเหลวใส​ ไม่มีสี​ จึงมีการนำฟอร์มาลีนมาผสมในอาหาร​ เพื่อให้อาหารคงความสด​ ไม่เน่าเสียง่าย​และเก็บรักษาได้นาน​ 

อาหารทะเล เนื้อสด มักมีสารฟอร์มาลีน เป็นสารก่อมะเร็ง

อาหารที่มักเจอฟอร์มาลีน​ ได้แก่​ อาหารทะเล​ ผักสด​ เนื้อสัตว์สด​ และเครื่องในสัตว์​ ซึ่งเราจะสังเกตได้ว่าอาหารจะไม่เน่าเสียเร็ว ปลาหรือกุ้งจะเนื้อแข็ง แล้วจะมีบางส่วนเปื่อยยุ่ย​ ผักจะมีลักษณะแข็งกรอบ​ ผิดปกติ 

  • สารฟอกขาว (Sodium hydrosulfite) หรือผงซักมุ้ง เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมเส้นใยไหม​ แห​ และอวน​ จึงมีคนนำมาใช้ฟอกขาวในอาหาร​ เพื่อให้มีความขาวสดใสน่ากิน​
  • สารฟอกขาวพบได้ในอาหารที่มีสีขาวผิดปกติ​ หรือไม่ใช่สีตามธรรมชาติ​ เช่น​ ถั่วงอก​ ขิง​ซอย​ ยอดมะพร้าว​ กระท้อน​ หน่อไม้ดอง​ ผักและผลไม้ดอง​ ทุเรียนกวน​ สับปะรดกวน​ ผลไม้อบแห้ง​ และน้ำตาลปี๊บ 
  • สารกันเชื้อรา​ หรือ กรดซาลิซิลิค เป็นกรดที่มีอันตรายต่อร่างกายมาก​ ผู้ผลิตอาหารบางรายนำมาใส่เป็นสารกันเสียในอาหารหมักดอง​ เพื่อป้องกันเชื้อรา​ และให้เนื้อของผักผลไม้ที่ดองคงสภาพเดิมน่ากิน​ ไม่เละง่าย​

ของหมักดองมักจะใส่สารกันรา ที่เป็นสารก่อมะเร็ง

อาหารที่มักตรวจพบสารกันเชื้อรา​ ได้แก่​ ผักและผลไม้ดอง​ เช่น​ ผักกาดดอง​ มะม่วงดอง​ สังเกตได้จากน้ำผักผลไม้ดอง​จะดูใสเหมือนใหม่อยู่เสมอ

  • สารเร่งเนื้อแดง​ พ่อค้าแม่ค้าบางส่วนที่ต้องการให้เนื้อหมูเนื้อวัวดูสีแดงน่ากิน​ ก็จะใส่สารเร่งเนื้อแดง​ เราจะสังเกตได้ว่า​เนื้อนั้นจะมีสีแดงผิดปกติ สารเร่งเนื้อแดงจะทำให้มือสั่น​

กล้ามเนื้อกระตุก​ ปวดศีรษะ​ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ​ วิงเวียนศีรษะ​ คลื่นไส้อาเจียน​ มีอาการทางจิตประสาท

จะเห็นว่า​ อาหารที่มักจะใส่สารอันตรายลงไปคือ​ อาหารที่เรากินเป็นประจำนั่นเอง​ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุว่า มากกว่า 50%ของผู้ป่วยโรคมะเร็งในไทย​มีต้นเหตุมาจากสารพิษในอาหารนั้นเอง

สารพิษในเนื้อสัตว์

เนื้อสัตว์ อาหารสด

ปัจจุบันมีคนจำนวนมาก​ ที่นิยมกินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก เช่น เนื้อหมู​ วัว​ ไก่ ​โดยหารู้ไม่ว่า​ในเนื้อสัตว์นั้นเป็นแหล่งสะสมสารพิษมากมาย ​เช่น​ ยาปฏิชีวนะ​ ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต​ ฮอร์โมนเร่งให้มีไขมันมาก​ที่จะตกค้างในเนื้อสัตว์ที่เราซื้อมากิน​ ซึ่งทำให้เราเป็นโรคมะเร็งและโรคอื่นๆได้

นอกจากนี้​เมนูอาหาร เช่น​ แหนม​ ไส้กรอก​ แฮม​ กุนเชียง​ ก็มักจะใส่ดินประสิวหรือเกลือไนไตรท์ (สารก่อมะเร็งชนิดไนโตรซามีน)​ ก็จะทำให้เราเป็นโรคมะเร็งบริเวณกระเพาะอาหารและบริเวณตับได้อีกด้วย

ซีฟู้ดอุดมด้วยสารพิษ

หลายคนชอบกินปลาทะเลสดๆ​ที่มีตู้โชว์ให้สัตว์ลงไปว่าย โดยหารู้ไม่ว่า​ร้านอาหารบางร้านอาจใส่ไซยาไนด์​ คอแรม และยาเหลืองลงในตู้​ เพื่อฆ่าเชื้อและให้ปลาอยู่ได้นานจนกว่าจะมีผู้บริโภคมาชี้ที่ตู้ว่าจะกินตัวไหน​

สารเหล่านี้จะตกค้างในตัวสัตว์ทะเล พอกินเข้าไปก็อาจจะทำให้เป็นมะเร็ง​ หรือเกิดอาการไตวายเฉียบพลันถึงแก่ชีวิตได้ และ​อาหารทะเลก็อาจจะถูกชาวประมงใส่ฟอร์มาลีนตั้งแต่จับได้แล้ว​

สารพิษจากอาหารทะเล

เพื่อไม่ให้เน่าเร็ว​ รวมถึงการปนเปื้อนน้ำมันจากเรือต่างๆ​ ด้วยเหตุนี้​ เราจึงมีโอกาสได้รับสารพิษจากอาหารทะเล​ ไม่ว่าจะกินแบบสดหรือไม่สดก็ตาม ​(หลีกเลี่ยงได้ยาก)​

ถึงจะเป็นสัตว์น้ำที่ได้มาจากฟาร์มเลี้ยงโดยเฉพาะ เช่น ฟาร์ม​กุ้ง คนเลี้ยงจะใส่สารเคมี เช่น​ ยาปฏิชีวนะ​ลงไปในบ่อปริมาณมากๆ​ เพื่อให้มันไม่ป่วยเป็นโรคและตายยกบ่อ​

ซึ่งสารเคมีที่เป็นอันตรายเหล่านี้ก็จะตกค้างในตัวสัตว์น้ำที่เรากินกัน ถ้าใครรู้จักคนเลี้ยงกุ้งเหล่านี้จะรู้ดีว่าเขาจะไม่กินสัตว์ที่เขาเลี้ยงเพื่อขายเลย​ ถ้าจะกินเองก็เลี้ยงเอาไว้ต่างหากแล้วไม่ใส่สารเคมีลงไป​

สารพิษที่มาพร้อมกับผักผลไม้

กรมวิชาการเกษตรรายงานว่า​ 99% ของสารเคมีเหล่านี้จะตกค้างในสิ่งแวดล้อม​ จะตกค้างในพืชประมาณ 41% ซึ่งติดอยู่บนผิวของผักผลไม้มาสู่มือเรา​ นอกจากนี้​ สารเคมีที่ตกค้างในน้ำและดินก็จะถูกต้นไม้ดูดซึมเข้าไป​

มีสารเคมีจำนวนมากตกค้างในผักผลไม้

ทำให้มีสารเคมีเหล่านี้เลยอยู่ภายในผักผลไม้ไปด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกษตรกรมีอัตราการเป็นมะเร็งชนิดต่างๆเพิ่มมากขึ้น ​เช่น​ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง​ มะเร็งเม็ดเลือดขาว​ มะเร็งสมอง​ มะเร็งเนื้อเยื่อ​ มะเร็งกระเพาะ​ และมะเร็งต่อมลูกหมาก

ด้วยปริมาณสารพิษตกค้างที่มากมายขนาดนั้น​ เราคงจินตนาการได้ไม่ยากว่า​ผักผลไม้ที่เราซื้อกินจะมีปริมาณสารพิษมากแค่ไหน​?

ความจริงแล้ว​ผักปลอดสารพิษ (และผักอนามัย)​ ส่วนใหญ่ไม่ได้ปลูกโดยใช้สารเคมี เพียงแต่อาจจะลดสารเคมี​ หรือใช้วิธีอื่นๆ เข้ามาช่วย ​เช่น​ ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ​ สารสกัดจากสมุนไพรไทย

ผักเหล่านั้นจะไม่ได้ปลอดจากสารพิษโดยสิ้นเชิงอย่างที่เราเข้าใจกัน​ เราจะต้องกินผักอินทรีย์หรือผักออแกนิกถึงจะปลอดจากสารเคมี​

ผักที่เรากินเข้าไปประมาณครึ่งหนึ่งยังคงมีสารเคมีตกค้าง​ เราจึงต้องล้างผักให้สะอาดก่อนกิน​โดยเฉพาะผักที่เป็นใบห่อ​ เช่น​ กะหล่ำปลี​ ที่จะมีการฉีดยาจำนวนมาก

ล้างผักให้สะอาดเพื่อลดสารเคมีตกค้าง

ส่วนผลไม้นั้น​สารพิษมักจะตกค้างที่เปลือก​ หากเราปอกเปลือกออกหรือล้างเปลือกให้สะอาด​ รวมถึงหลีกเลี่ยงการกินผลไม้ทั้งเปลือก​ เช่น ฝรั่ง​ แอปเปิ้ล​ องุ่น​ สตรอว์เบอร์รี่​ เชอร์รี่

​ ก็จะช่วยลดโอกาสได้รับสารพิษตกค้างได้บ้าง แต่ก็จะทำให้เราได้รับสารอาหารน้อยลง​เพราะสารอาหารที่สำคัญมักจะอยู่ที่ตัวของผลไม้ที่กินเปลือกได้

และด้วยเหตุที่​สารเคมีที่ตกค้างในผักผลไม้หลายๆ​ ชนิดนั้นมีอันตรายจนหลายประเทศไม่นำเข้าผักผลไม้จากไทย เพราะมีสารเคมีเกินมาตรฐานความปลอดภัย​ เราคงคาดเดาได้ไม่ยากว่า​ผักผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างน้อยหรือไม่มีสารพิษตกค้างเลย​

ก็จะถูกส่งออกไปขายยังต่างประเทศ​ ส่วนผักผลไม้ที่เหลือที่มีสารพิษตกค้างมากเราก็จะบริโภคกันเองในประเทศ ​

เช่นเดียวกันกับอาหารหลักของคนไทยอย่างข้าวสาร​ ที่โรงสีหลายๆแห่งก็ต้องป้องกันข้าวจากแมลงสาบ​ มอด​ และแมลงต่างๆ​ ด้วยการฉีดยาฆ่าแมลงลงไปที่เมล็ดข้าวโดยตรง​ ด้วยเหตุนี้​ในข้าวที่เรากินจึงมีสารพิษเจือปนอยู่ไม่น้อย

ข้าวสาร

เส้นก๋วยเตี๋ยวแฝงสารพิษ

แม่ค้าอาหารมักจะสั่งเส้นก๋วยเตี๋ยวมาจากโรงงาน ​ซึ่งโรงงานบางแห่งก็อยู่ต่างจังหวัด​หรืออยู่คนละภาค จึงต้องมีการใส่สารกันบูดเพื่อให้เส้นสามารถอยู่ได้หลายวัน ไม่เน่าเสียในระหว่างขนส่ง​

ซึ่งสารกันบูดจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตลดลง ที่สำคัญก็คือ ​โรงงานจะต้องใส่น้ำมันลงไปในเส้นที่ทำเสร็จแล้ว​ เพื่อไม่ให้เส้นติดกันและน่ากิน​

เส้นก๋วยเตี๋ยว

ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า​ โรงงานกว่า 95% ใช้น้ำมันทอดซ้ำในกรรมวิธีขึ้นรูปแผ่นก๋วยเตี๋ยว​ เนื่องจากมีความหนืดกว่าน้ำมันใหม่ (ซึ่งในน้ำมันเก่าจะมีสารก่อมะเร็ง)​

อาหารริมถนนปลอดภัยหรือไม่

นอกจากเรื่องความสะอาดของอาหารแล้ว​ คนจำนวนมากที่ต้องซื้ออาหารที่ทำหรือขายตามริมถนน​ ก็จะได้รับสารตะกั่วจากควันรถที่วิ่งไปมา​ ที่จะลอยมาปนเปื้อนอาหาร​

ซึ่งพอเรากินเข้าไปร่างกายจะขับออกมาได้ส่วนหนึ่ง​ ที่เหลือจะสะสมอยู่ในร่างกายเราจนส่งผลให้เกิดอาการสมองเสื่อม​ มึนงง​ คลื่นไส้​ อาเจียน​ ปวดศีรษะ​ ปวดท้อง​ เบื่ออาหาร​ ท้องเสีย​ ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง​ จนอาจไตวายหรือตายได้

ครัวตามร้านอาหารสะอาดแค่ไหน

ความสะอาดของห้องครัวในร้านอาหารเป็นสิ่งสำคัญต่อผู้บริโภค

เราเคยตั้งคำถามเกี่ยวกับความสะอาดในห้องครัวกันบ้างหรือไม่​? พ่อครัว​ตามร้านอาหารทำความสะอาดบ่อยแค่ไหน​ สภาพในห้องครัวเป็นอย่างไร​ เขาล้างอุปกรณ์ทุกครั้งที่ใช้หรือไม่​

เขาล้างมือหรือเปล่า​ เขาเข้าห้องน้ำก่อนทำอาหารให้เราหรือไม่​ ล้างผักหรือเปล่า​ ใช้วิธีไหนเก็บรักษาอาหาร​ โดยเฉพาะร้านที่มีสาขามากๆ​ ที่ไม่ได้ผลิตอาหารที่ร้าน และเขาใช้วิธีไหนในการป้องกันไม่ให้ในห้องครัวมีหนูหรือแมลงสาบเข้ามา​

น้ำแข็งแฝงสารปนเปื้อน

เวลาที่ไปกินอาหาร​ เราก็มักจะดื่มเครื่องดื่มพร้อมกับน้ำแข็ง​ โดยไม่รู้เลยว่าเรากำลังรับเชื้อโรคเข้าไปมากน้อยแค่ไหน​ เพราะโรงน้ำแข็งจำนวนมากมายไม่ได้มาตรฐานความสะอาดเลยสักนิด

น้ำแข็งในเครื่องดื่ม

เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า​น้ำที่นำมาทำน้ำแข็งน้ำได้รับการฆ่าเชื้อโรคหรือไม่​ รวมถึงขั้นตอนการผลิต การขนย้าย​ การขนส่งน้ำแข็งต้องผ่านมือคนจำนวนมาก​ต้องผ่านพื้นที่คนงานเดินไปเดินมารวมถึงเชื้อโรคบนรถบรรทุกน้ำแข็งที่เก็บน้ำแข็งในร้านอาหาร​

คิดแล้วก็คงเป็นเรื่องยาก ที่น้ำแข็งที่เรากินเข้าไปจะมีความสะอาดปลอดภัย​ ปราศจากเชื้อโรคหรือสารอันตรายต่างๆ

ภาชนะใส่อาหารที่ไม่ปลอดภัย

นอกจากสารพิษในอาหารแล้ว​ ภาชนะที่ใช้ในการประกอบอาหารเป็นประจำ (หม้อ​ กระทะ)​ รวมถึงภาชนะ​ที่ใช้กินอาหาร​ เช่น​ จาน​ ช้อน​ ก็อาจมีสารตะกั่วปนเปื้อน​ จากภาชนะที่ใช้โลหะผสมคุณภาพต่ำ

สารตะกั่วปนเปื้อน​จากภาชนะที่ใช้โลหะผสมคุณภาพต่ำ

คนที่กินอาหารนอกบ้าน​ก็มีความเสี่ยงจากหม้อที่พ่อค้าแม่ค้าใช้ในการต้มก๋วยเตี๋ยว​ หรือทำข้าวแกงให้เรากิน​ ซึ่งถ้าใช้ของที่คุณภาพไม่ดี​ เราก็มีโอกาสได้รับสารตะกั่วเข้ามาในร่างกายเราด้วยเช่นกัน

ถึงตรงนี้แล้ว​เราก็คงพอจะเห็นภาพชัดเจนขึ้นแล้วว่า​ ทำไมคนที่สามารถปฏิบัติตัวตามหลักที่แพทย์แนะนำ​ ก็อาจจะไม่รอดพ้นจากโรคเรื้อรังอยู่ดี โดยเฉพาะโรคมะเร็ง

ความจริงที่น่าเศร้าก็คือ​ ถึงแม้ว่าบางคนจะพยายามดูแลตัวเองอย่างดีในระดับนึงแล้ว​ก็ตาม แต่สุดท้ายก็อาจจะเป็นหนึ่งในนั้นได้ เพราะขาดความใส่ใจในเรื่องการบริโภคที่สำคัญต่อชีวิตประจำวัน

เอนไซม์ SOD คือสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด
บทความที่น่าสนใจ

error: do not copy content!!