FAQ, เราอ้วนหรือเปล่า?

เรา “อ้วน” หรือเปล่า?

did-you-%e0%b8%ad%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%99

แค่ไหนถึงเรียกว่า ‘อ้วน’

คำว่า อ้วน บางครั้งก็เป็นเรื่องของความรู้สึก เพราะว่าคนที่สูงเท่ากันน้ำหนักเท่ากันบางคนอาจจะรู้สึกว่าตัวเองอ้วน แต่บางคนอาจจะพอใจแล้ว คนที่สัดส่วนเท่ากันบางคนอาจจะอยากลดสัดส่วนเพิ่มอีก แต่บางคนอาจจะพอใจแล้ว

กฏเกณฑ์แบบหยาบๆ ที่เรามักจะใช้กันก็คือ ผู้หญิงให้เอาส่วนสูงเป็นเซนติเมตรลบด้วย 110 ก็จะได้น้ำหนักที่เราไม่ควรจะเกิน เช่น หากเราสูง 160 เซนติเมตร เมื่อเอา 160 ลบด้วย 110 ก็จะได้ว่าหากน้ำหนักของเราเกิน 50 กิโลกรัม แปลว่า เราอ้วนและควรต้องลดน้ำหนัก (ส่วนผู้ชายลบด้วย 100)

เกณฑ์ทางการแพทย์

ในปัจจุบันเกณฑ์ที่ยอมรับทางการแพทย์ก็คือ การคำนวณโดยใช้ดัชนีมวลกาย หรือเรียกว่า BMI (Body Mass Index) ซึ่งคำนวณโดยใช้น้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง (หน่วยเป็นเมตร)

BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร)ยกกำลังสอง เช่น หากเราหนัก 55 กิโลกรัมสูง 160 เซนติเมตร (ซึ่งจะเท่ากับ 1.60 เมตร)

ค่า BMI ของเราจะเท่ากับ 55/(1.60 คูณ 1.60) = 21.4 8

ปัจจุบันยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวว่า ค่า BMI ควรจะเป็นเท่าไหร่เนื่องจากร่างกายของคนในแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน แม้แต่ในประเทศไทยเอง แพทย์แต่ละที่ก็อาจจะใช้กฎเกณฑ์ที่ไม่เหมือนกันได้ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับประเทศไทย ค่า BMI ที่เหมาะสมก็คือ

ค่า BMI จะบ่งชี้ว่าเราอ้วนไปหรือไม่ จำเป็นต้องลดน้ำหนักหรือเปล่า

  • หากน้อยกว่า 18จะถือว่าผอมเกินไป
  • หากอยู่ในช่วง 18-22.9 จะถือว่าเหมาะสม
  • หากอยู่ในช่วง 23-24.9 จะถือว่าอ้วน
  • ห่างมากกว่า 25 จะถือว่าเป็นโรคอ้วน

สมมุติว่าเราสูง 155 เซนติเมตร น้ำหนักที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่าง 43.2 – 55.3 กิโลกรัม นั่นแปลว่าหากตอนนี้เราหนัก 65 กิโลกรัม เราควรลดน้ำหนักให้เหลืออย่างน้อย 55.3 กิโลกรัม (ลดลง 9.7 กิโลกรัม)

แต่ก็ไม่ควรลดลงจนเหลือน้อยกว่า 43.2 กิโลกรัม (ลดลง 21.8 กิโลกรัม) หากเราเลือกเดินทางสายกลางเราก็จะได้ว่าตัวเลขที่อยู่ตรงกลางระหว่าง 43.2 กับ 55.3 คือ (43.2 +55.3)/2 = 49.2 5 กิโลกรัม (ลดลง 15.75 กิโลกรัม)

พิจารณาจากเปอร์เซ็นต์ไขมัน

เปอร์เซ็นต์ไขมันหมายถึง สัดส่วนของไขมันในร่างกายเราว่ามีกี่เปอร์เซ็นต์ เช่น คนที่หนัก 100 กิโลกรัม แล้วมีไขมันประมาณ 30 กิโลกรัม ก็แปลว่ามีไขมัน 30% เดี๋ยวนี้มีเครื่องมือที่สามารถวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายเรา วางขายในราคา 1- 2 พันบาท หรือเราจะไปวัดตามฟิตเนสบางแห่งก็ได้

แพทย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องลดน้ำหนักและเรื่องโภชนาการได้แนะนำว่า เราไม่ควรรู้ค่า BMI เพียงอย่างเดียว สิ่งที่ควรจะใส่ใจควบคู่ด้วยก็คือ เปอร์เซ็นต์ไขมัน

วัดเปอร์เซนต์ไขมันในร่างกายควบคู่กับการดูค่า BMI

เพราะนักกีฬาบางคนที่มีสัดส่วนกล้ามเนื้อในปริมาณสูง อาจจะมีค่า BMI สูงกว่า 25 แต่ไม่ถือว่าอ้วน (แค่มีน้ำหนักมาก) ในขณะที่มันค่า BMI ยังคงอยู่ในมาตรฐาน แต่มีเปอร์เซ็นต์ไขมันสูงกลับควรจะลดน้ำหนัก

เพราะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมากกว่า และมีโอกาสที่น้ำหนักจะเพิ่มในอนาคตสูงกว่าด้วย โดยค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันที่เหมาะสมนั้น ปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ที่ชัดเจน

ลดไขมันไม่ใช่ลดน้ำหนัก

ในการลดน้ำหนัก คนส่วนใหญ่จะสังเกตที่น้ำหนักตัวที่ลดลงบ้าง สัดส่วนที่ลดลงบ้าง ซึ่งก็พอที่จะทำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเรา

แต่จริงๆ แล้วปัญหาใหญ่ของโรคอ้วนไม่ได้เกิดจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป แต่เกิดจากไขมันที่มีมากเกินไปต่างหาก และโรคต่างๆที่เกิดขึ้นกับคนที่มีปัญหาน้ำหนักตัวมาก ก็มักจะเกิดจากไขมันที่มากเกินไป

หรือคนที่น้ำหนักตัวไม่มากแต่มีรูปร่างไม่สมส่วนและไม่กระชับ ก็เพราะว่าร่างกายมีปริมาณไขมันที่มากเกินไปนั่นเอง

ฉะนั้นการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง จึงต้องลดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายเราลง เพราะยิ่งเปอร์เซ็นต์ไขมันลดลงมากเท่าไหร่ น้ำหนักก็จะกลับมาเพิ่มยากขึ้น เราก็จะยิ่งห่างไกลโรคมากขึ้น จะมีรูปร่างที่สมส่วนและกระชับมากขึ้นด้วย

ลดไขมันเป็นการลดความอ้วนที่ดีที่สุด

วิธีการลดน้ำหนักที่ผิด มักจะเป็นการลดแล้วนั้นที่เราสูญเสียกล้ามเนื้อหรือน้ำในร่างกายมากกว่าจะเป็นการลดปริมาณไขมันในร่างกาย ถ้าคนสองคนน้ำหนักเริ่มต้นเท่ากัน ลดน้ำหนักได้เท่ากันคนที่ลดน้ำหนักโดยสูญเสียกล้ามเนื้อไปมากกว่า

โดยจะเหลือไขมันในร่างกายมากกว่า ร่างกายก็จะเผาผลาญต่ำกว่า (เพราะเหลือกล้ามเนื้อน้อยกว่า) และจะ อ้วน ง่ายขึ้น ลดน้ำหนักได้ยากขึ้น และสัดส่วนจะไม่กระชับ

เกณฑ์ที่เหมาะสมที่สุดว่า อ้วนมั๊ย

จะเห็นว่าเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินว่าใครอ้วนหรือไม่นั้น บางมาตรฐานก็ใช้ได้กับบางคนเท่านั้น เพราะว่าคนเรามีโครงสร้าง มีสัดส่วนของกระดูก กล้ามเนื้อ เปอร์เซ็นต์ไขมันที่แตกต่างกัน เราจึงไม่สามารถใช้เกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งตัดสินคนทั้งโลกที่มีมากกว่า 6 พันล้านคนได้

 เกณฑ์ที่เหมาะสมที่สุดในการใช้ตัดสินว่าเราอ้วนหรือเปล่า? เราควรจะลดน้ำหนักเท่าไหร่? เราจึงต้องใช้หลายกฎเกณฑ์เข้ามาพิจารณาพร้อมๆกัน นั่นก็คือใช้ทั้งค่า BMI ,เปอร์เซ็นต์ไขมันและความพึงพอใจของตัวเราเอง

เช่น หากเราเป็นผู้หญิงที่สูง 160 เซนติเมตรน้ำหนัก 44 กิโลกรัม มีเปอร์เซ็นต์ไขมันขึ้นอยู่ที่ 17% แล้วเราไม่พึงพอใจกับรูปร่างที่เป็นอยู่อยากลดลงอีก ก็ไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสม เราต้องพิจารณาความเป็นจริงที่ว่า น้ำหนักของเราต่ำกว่ามาตรฐานค่า BMI ต่ำกว่า 18 ภูมิต้านทานโรคของเราจะน้อยลงเราจะป่วยง่ายและเปอร์เซ็นต์ไขมันของเราก็มีไม่มาก (เราก็จะลดน้ำหนักได้อีกไม่มาก)

คนมีกล้ามเผาพลาญพลังงานได้ดี

เราจึงควรออกกำลังกายเพื่อสร้างโปรตีนและกล้ามเนื้อให้มากขึ้นในแบบที่ช่วยกระชับกล้ามเนื้อ (ไม่ใช่ให้เป็นมัดๆ) เราจะได้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอีก 2-3 กิโลกรัม โดยที่สัดส่วนและรูปร่างเราจะลดลง เราก็จะได้น้ำหนักที่อยู่ในมาตรฐานและรูปร่างที่เราพึงพอใจ

ส่วนในกรณีที่เราเป็นผู้หญิงสูง 160 เซนติเมตร น้ำหนัก 65 กิโลกรัม มีเปอร์เซ็นต์ไขมัน 35% แล้วบอกว่าเราพึงพอใจในรูปร่างของตนเองนั้น ถ้ายึดตามหลักจิตวิทยาก็ถือว่าถูกต้อง เพราะจะทำให้เราไม่สูญเสียความมั่นใจในตัวเอง

แต่ไม่ถูกตามหลักทางการแพทย์เพราะทั้งน้ำหนักและเปอร์เซ็นต์ไขมันเกินมาตรฐานหมด ซึ่งทำให้เรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆ ได้มากมาย จึงควรลดน้ำหนักและลดไขมันโดยด่วนที่สุด (โดยที่ยังรักษาความมั่นใจในตนเองไว้เหมือนเดิม)

‘อ้วน’ แล้วไง?

ในอดีตคนส่วนใหญ่จะมองเรื่องของความอ้วน ว่าจะทำให้ใส่เสื้อผ้าไม่สวย หาเสื้อผ้าลำบาก ขาดความมั่นใจในตนเองบุคลิกภาพไม่ดี ขาดความสนใจ ขาดความคล่องตัว ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงาน

มีผลต่อการสมัครเรียนและสถาบันหรือคณะที่มีชื่อเสียง เช่น แพทย์ พยาบาล หลายคนอาจจะคิดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหา เพราะมีความมั่นใจในตนเอง มั่นใจในการทำงานของตน (ถึง อ้วน แต่เก่ง ไปไหนใครก็เอา) และคิดว่าสามารถใช้ชีวิตได้ดีกว่าคนที่ไม่อ้วนได้

คนอ้วนมักจะเสียโอกาสในชีวิตและยังเสียความมั่นใจอีกด้วย

คนส่วนหนึ่งจึงมักมีคำถามว่า อ้วนแล้วผิดตรงไหน คนอ้วนไม่ใช่คนร้ายไม่ใช่คนเลว เผลอๆคนอ้วนบางคนอาจจะจิตใจดีกว่าคนที่ไม่อ้วนด้วยซ้ำไป และบางคนอาจจะเข้าใจผิดคิดว่า ความอ้วนคือสิ่งที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ความมีอันจะกิน มีโหงวเฮ้งที่ดี จึงไม่จำเป็นต้องลดน้ำหนัก แล้วทำไมเราต้องลดความอ้วน

คำตอบก็คือ ความอ้วนมันจะทำร้ายผู้ที่เป็นเจ้าของ

สิ่งที่เป็นภัยมืดที่น่ากลัวก็คือ อันตรายที่แฝงอยู่ภายใน เพราะคนที่อ้วนจะมีโอกาสเป็นโรคต่างๆ ได้มากกว่าคนปกติหลายเท่า นอกจากนี้ คนที่อ้วนจะมีปัญหา เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท กรน หยุดหายใจขณะนอนหลับ ปวดหลัง ปวดเข่า ข้อเข่า ข้อเสื่อมเร็ว หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้น กลิ่นตัวแรง กลิ่นปากแรง ฯลฯ

คนอ้วนมีโอกาสเป็นโรคต่างๆ สูงกว่าคนไม่อ้วนหลายเท่า ยิ่งมีน้ำหนักตัวมากเกินเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีโอกาสเป็นโรคเหล่านี้มากขึ้น โดยเฉพาะคนที่อ้วนลงพุงจะยิ่งเสี่ยงเป็นโรคเหล่านี้มากกว่าคนที่อ้วนแบบอื่น

และโรคเหล่านี้เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องใช้เงินและเวลาในการรักษาค่อนข้างมาก (โรคละลายทรัพย์) คนที่เป็นจึงสูญเสียเงิน เวลา และแรงใจในการรักษาให้หาย (หรือทำได้เพียงถ้าไม่ให้มีอาการที่แย่ลง)

คนบางคนหาเงินมาตลอดชีวิต แต่พอเป็นโรคเหล่านี้ ก็ต้องเสียเงินเพื่อรักษาชีวิตจนแทบหมดตัว มิหนำซ้ำอาจจะเป็นภาระให้กับคนรอบข้างอีกด้วย

ความอ้วนส่งผลเสียและทำให้เป็นโรคร้ายหลายโรคได้

ข้อมูลทางการแพทย์ค่อนข้างจะชัดเจนว่า ใครก็ตามที่เป็นโรคเหล่านี้ เมื่อลดน้ำหนักลงอาการที่เกี่ยวกับโรคเหล่านี้ก็จะดีขึ้นตามลำดับ (ลงด้วยวิธีการที่ถูกต้องเท่านั้น) ส่วนใครที่ยังไม่เป็นโรคเหล่านี้แล้วลดน้ำหนัก

ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเหล่านี้ก็ยิ่งน้อยลง (อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่มีโรคประจำตัว จำเป็นจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนลดน้ำหนัก)

การลดน้ำหนักเพื่อป้องกัน เราจะเสียเงินและเสียเวลาน้อยกว่า เงินและเวลาที่เราจะใช้แก้ไขในตอนที่เราเป็นโรคถึง 10 เท่า ฉะนั้นถ้าใครอ้วนก็ควรจะลดน้ำหนักเดี๋ยวนี้ เพื่อตนเองและคนที่เรารักทุกคน 

โปรตีนเสริมไฮโปร Hypro เพิ่มกล้ามเนื้อ ลดมวลไขมัน

ลดหน้าท้อง ลดพุง ลดน้ำหนัก ด้วยอาหารเสริมเอฟโฟร์ F4

บทความที่น่าสนใจ

error: do not copy content!!