
ริดสีดวงทวาร
ส่วนใหญ่เกิดจากการเบ่งถ่ายอุจจาระบ่อยๆนานๆ ซึ่งเป็นผลของอาการท้องผูก,การยกของหนักๆ,การนั่งหรือยืนท่าใดท่าหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
การกลั้นอุจจาระฯ ระดับแรงดันในช่องท้องที่เกิดจากการเบ่งอุจจาระจะส่งผลทำให้การไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดดำบริเวณทวารไหลเวียนไม่สะดวก เกิดการพองโต บวมช้ำ และโตขึ้นเป็นติ่งเนื้อ
และความหนาของผนังลดลงเมื่อมีของแข็งมาเสียดสี เช่น อุจจาระที่แห้งแข็ง หรือระดับแรงดันมากขึ้นอีกก็จะทำให้เกิดการปริแตก หรือฉีกขาดของหลอดเลือดดำ
ทำให้เกิดเลือดสดๆไหลออกมาได้ ส่วนสาเหตุอื่นๆ ก็มีบ้างเช่น อายุที่มากขึ้น, อาการท้องเสียเรื้อรัง, ความอ้วน, ความดันในเลือดในตับสูง,ภาวะตั้งครรภ์ ,การคลอดบุตรยาก และการเกิดโรคยังมีความสัมพันธ์กับความเครียดที่สูงด้วย
ริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids) มีอาการบวมและอักเสบขึ้นที่ผนังหลอดเลือดดำของลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Rectum) มักมีอาการคัน,ปวด ,บางครั้งอาจมีเลือดออกจากทวารร่วมด้วย
และการที่ผนังหลอดเลือดดำมีอาการอักเสบบวมจึงทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้อหรือติ่งเนื้อยื่นออกมาที่บริเวณทวารหนัก ในบางรายอาจมีของเหลวลื่นๆเหนียวๆไหลออกจากทวารหนักด้วย
อาการที่พบบ่อยของโรคริดสีดวงคือมีติ่งเนื้อสีชมพูคล้ำออกมาจากปากทวารหนักเมื่อ มีลิ่มเลือดเกิดในหลอดเลือดที่โป่งพอง ซึ่งจะก่ออาการปวดเจ็บบวม และระคายเคืองบริเวณรอบปากทวารหนัก
ส่วนอาการที่พบบ่อยของโรคริดสีดวงทวารภายใน คือ อุจจาระเป็นเลือดโดยไม่มีอาการปวดเจ็บ อุจจาระมักเป็นเลือดสด หรือเลือดออกหลังอุจจาระสุดแล้ว มักพบเลือดบนกระดาษชำระ เลือดที่ออกจะไม่ปนกับอุจจาระ มักไม่มีมูกปน และมักหยุดได้เอง
อาการเหล่านี้จะเป็นๆหายๆ เมื่อเป็นมาก หลอดเลือดจะบวมมาก รวมทั้งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบหลอดเลือดจะบวมออกมาถึงปากทวารหนัก เห็นเป็นก้อนเนื้อนิ่ม ปลิ้นโผล่ออกมานอกปากทวารหนัก ซึ่งในภาวะเช่นนี้จะก่ออาการเจ็บปวดได้
ระดับความรุนแรง แบ่งเป็น 4 ระยะคือ
- ระยะที่ยังไม่มีหัวริดสีดวงทวารยื่นออกมานอกปากทวาร ถื้ท้องผูกจะปรากฏมีเลือดไหลออกมาด้วย
- ระยะที่เริ่มีหัวริดสีดวงทวารยื่นออกมาขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ และจะหดกลับเข้าไปได้เอง โดยไม่ต้องใช้มือช่วยดันเข้าไป
- ระยะที่มีหัวริดสีดวงทวารยื่นออกมาขณะเบ่งอุจจาระ แต่ไม่หดกลับเข้าเองได้จะต้องใช้มือช่วยดันเข้าจึงจะกลับเข้าได้ในทวาร
- ระยะนี้มีหัวริดสีดวงทวารยื่นออกมาแล้วไม่สามารถใช้มือดันเข้าไปในทวารได้เลย
อาการแทรกซ้อนของริดสีดวงทวาร ได้แก่
- ภาวะกลั้นอุจจาระไม่อยู่ ทั้งนี้เพราะกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด เหล่านี้ มีหน้าที่ช่วยการปิดตัวของหูรูดปากทวารหนักในภาวะไม่อุจจาระ เมื่อเกิดหลอดเลือดโป่งพอง หูรูดปากทวารหนักจึงปิดไม่สนิท จึงเกิดการกลั้นอุจจาระไม่อยู่
- ภาวะซีด เมื่อมีเลือดออกจากกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดเรื้อรัง หรือบางครั้งเลือดออกมากและไม่สามารถหยุดเองได้ ต้องพบแพทย์ด่วน
- การติดเชื้อ อาจก่อให้เกิดเป็นฝี หรือหนองในบริเวณก้นได้
- เมื่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดปลิ้นออกนอกทวารหนักในระดับสุดท้าย ซึ่งเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดขาดเลือด เกิดการเน่าตายของกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด ทำให้เกิดอาการเจ็บ ปวดอย่างมาก ซึ่งจัดเป็นภาวะฉุกเฉินเช่นกัน
การปฏิบัติดูแลตนเอง เป็นสิ่งจำเป็นในการหลีกเลี่ยงริดสีดวง
- ควรนั่งแช่น้ำอุ่น 10-15 นาที วันละ 3 ครั้ง เพื่อลดอาการปวดบวม และการอักเสบ
- ควรหลีกเลี่ยงอาการท้องผูก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเบ่งแรงๆและทำให้อุจจาระแข็ง ซึ่งวิธีแก้ไขอาการท้องผูกมีดังนี้
- กินอาหารทีมีเส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้และธัญพืชเพื่อช่วยให้อุจจาระนุ่ม
- ควรดื่มน้ำ อย่างน้อยวันละ 8 แก้วหรือ 2ลิตรอย่างสม่ำเสมอ
- ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ อุจจาระจะแข็งทำให้ถ่ายลำบากขึ้นและอาหารเผ็ดร้อนจัดเกินไป
- ควรหลีกเลี่ยงการกลั้นอุจจาระหรือเบ่งอุจจาระโดยไม่รู้สึกปวดจะถ่าย
- กรณีทำความสะอาดด้วยกระดาษทิชชู ใช้การซับเบาๆ แทนการถูเพื่อป้องกันการอักเสบบวมยิ่งขึ้น
- ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ทำให้ถ่ายอุจจาระง่ายขึ้น
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมอันเป็นสาเหตุของโรค เช่น ชอบอ่านหนังสือในห้องสุขา , การยกของหนักๆ , การนั่งหรือยืนเป็นเวลานานๆ และลดความเครียด
ดูแลเรื่องขับถ่ายให้เป็นปกติ เพียงเท่านี้ ก็ห่างไกลจากริดสีดวงทวารแล้ว
>>ลดการท้องผูกด้วย Phytovy<<
>>ลดการอักเสบ, ปวด,บวมของหลอดเลือดดำ<<