
คำตอบ :ไซนัส คือ โพรงในกระดูกที่อยู่รอบจมูก มีอยู่ 4 คู่ด้วยกัน ได้แก่ ไซนัสหน้าผาก ไซนัสข้างหัวตา โหนกแก้ม และฐานสมอง
ไซนัสช่วยปรับสภาพอากาศที่เราหายใจเข้าให้อุ่นและชุ่มชื้น ทำให้เสียงที่เปล่งออกมากังวาน และป้องกันอวัยวะภายในกะโหลกศีรษะจากแรงกระแทก
ไซนัสมีกลไกในการป้องกันการรุกรานจากเชื้อโรคเช่น การที่ขนกวัดของไซนัสพัดโบกสิ่งแปลกปลอมออกไป การที่รูของไซนัสโล่งพอที่สิ่งแปลกปลอมจะระบายสู่โพรงจมูก
และการหลั่งสารที่มีฤทธิ์ต้านการติดเชื้อฯ ดังนั้นความบกพร่องของกลไกใดกลไกหนึ่งหรือทุกกลไกจะส่งผลให้ไซนัสอักเสบในที่สุด
ภายในโพรงไซนัสบุด้วยเยื่อบุชนิดเดียวกันที่บุในโพรงจมูก แต่มีเซลล์ที่ผลิตเมือก หรือน้ำมูก เส้นเลือดและเส้นประสาทค่อนข้างน้อย ไซนัสแต่ละคู่มีลักษณะและความสำคัญที่แตกต่างกัน
ไซนัส มี 4 คู่
- ไซนัสหน้าผากไซนัสหน้าผากในแต่ละคนจะมีลักษณะแตกต่างกันจนสามารถใช้บอกตัวบุคคลได้เหมือนลายนิ้วมือ การติดเชื้อที่ไซนัสนี้อาจลามเข้าไปสู่สมองซึ่งอยู่ด้านหลังของมันได้
- ไซนัสข้างหัวตาไซนัสข้างหัวตาถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการเกิดไซนัสอักเสบนอกจากนี้การติดเชื้อที่ไซนัสนี้ หากไม่สามารถควบคุมได้ ก็อาจลามเข้าไปในสมองและลูกตาได้
- ไซนัสโหนกแก้ม มีขนาดใหญ่ที่สุด ไซนัสนี้มีความสัมพันธ์ทางกายวิภาคกับฟันบนซึ่งอยู่บริเวณพื้นของไซนัสนี้ ดังนั้นปัญหาที่ฟันหรือรากฟันจึงอาจลามเข้ามาที่ไซนัสนี้โดยง่าย
- ไซนัสฐานสมอง อยู่ในกระดูกที่บริเวณฐานสมองมันมีขนาดแตกต่างกัน อวัยวะสำคัญที่อยู่รอบๆ ไซนัสฐานสมอง ได้แก่ ต่อมใต้สมองและเส้นประสาทตา ด้านข้างมีหลอดเลือดแดงใหญ่ และด้านหลังมีก้านสมองการที่ไซนัสนี้อยู่ติดกับต่อมใต้สมอง จึงทำให้สามารถผ่าตัดเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองผ่านไซนัสนี้ได้โดย มีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดสมองในทางกลับกันเมื่อไซนัสนี้มีการอักเสบหรือติดเชื้อความผิดปกติดังกล่าวก็สามารถลุกลามเข้าไปในสมองได้ง่ายเช่นกัน
ความสำคัญของไซนัส
- ช่วยให้เสียงที่เราเปล่งออกมากังวานขึ้น
- ช่วยในการรับกลิ่น
- ช่วยปรับสภาพของอากาศที่เราหายใจเข้าไปให้อุ่นและชื้นขึ้น เนื่องจากไซนัสมีเยื่อบุผิวเช่นเดียวกับในโพรงจมูก และมีรูติดต่อกับโพรงจมูก
- ช่วยทำให้กะโหลกศีรษะเบาขึ้น และช่วยรักษาสมดุลของศีรษะ
- ช่วยลดความรุนแรงขณะเกิดการกระทบกระแทกโดยเป็นเสมือนฉนวนลดความแรงที่จะไปถึงอวัยวะสำคัญในกะโหลกศีรษะ เช่น สมอง และเส้นประสาทสำคัญต่างๆ
- ช่วยปรับความดันอากาศภายในโพรงจมูกในกรณีที่มีความเปลี่ยนแปลงของความดัน เช่น ในระหว่างการหายใจเข้าหรืออก การจาม การเปลี่ยนแปลงของความดันอากาศรอบข้างจากการขึ้นและลงจากที่สูง
ไซนัสป้องกันตนเองอย่างไร ไซนัสก็เป็นเช่นเดียวกับอีกหลายๆอวัยวะในร่างกาย ที่มีการป้องกันตนเองจากผู้บุกรุกภายนอกด้วยกลไกต่างๆ ดังนี้
- การทำงานของขนกวัด มีลักษณะการทำงานคล้ายขนกวัดในโพรงจมูก สารต่างๆ จะถูกขับออกทางรูเปิดของไซนัสโดยการทำงานของขนกวัด การพัดโดบกของขนกวัดไปสู่รูเปิดของไซนัสมีเส้นทางที่แน่นอน และไม่เปลี่ยนแปลงแม้หลังจากการผ่าตัด
- การที่รูของไซนัสที่เปิดเข้ามาในโพรงจมูกนั้นโล่งไม่อุดตัน ทำให้มีการกขับสิ่งสกปรกและของเสียทั้งหลายออกจากไซนัสผ่านทางรูเปิดที่ระบายสู่โพรงจมูก
- การที่ไซนัสหลั่งสารบางชนิดออกมา เช่น สารคัดหลั่งที่มีแอนติบอดีซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนี้พบว่าเยื่อบุไซนัสยังสามารถสร้างก๊าซไนตริกออกไซด์ได้ด้วย จากการศึกษาพบว่าปริมาณก๊าซไนตริกออกไซด์ในโพรงไซนัสที่ปกตินั่นมีค่าสูงกว่าระดับของก๊าซไนตริกออกไซด์ในโพรงจมูกหรือในภาวะแวดล้อมทั่วไป ก๊าซนี้มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และมีฤทธิ์ต้านไวรัสด้วยก๊าซไนตริกออกไซด์และแอนติบอดี้จากการคัดหลั่งช่วยทำให้โพรงจมูกมีลักษณะที่ปลอดจากเชื้อ
เมื่อเราเป็นไซนัสอักเสบ แสดงว่ากลไกใดหรือหลายๆกลไกดังกล่าวที่กล่าวมาเสียไป
>>ฟื้นฟูสุขภาพ จากการติดเชื้อต่างๆด้วย Betaglucan<<
>>Betaglucan มีประโยชน์อย่างไรกับร่างกาย?<<