FAQ, ข้อเสื่อม-การดูแลข้อ

ข้อเสื่อม วิธีสังเกตและดูแลรักษาข้อ

%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a1-%e0%b8%9b%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b9%e0%b8%81

อย่างที่รู้ๆกันอยู่แล้วว่า ระยะเวลาของการเกิดโรคที่เกี่ยวกับข้อนั้น เป็นอาการที่สั่งสมอย่างต่อเนื่องมานานเป็นสิบๆปี กว่าที่จะเริ่มแสดงอาการออกมา

ที่สำคัญก็คืออาการ “ข้อเสื่อม” เป็นโรคที่เกิดขึ้นอยู่ภายในร่างกาย คุณจึงไม่อาจรู้ได้เลยว่าตอนนี้ข้อของคุณมีรอยแผลหรือไม่? ข้อบวมรึเปล่า? หรือน้ำในข้อลดลงมั๊ย?

เมื่อไม่สามารถมองเห็นได้ คุณจึงไม่มีโอกาสรู้เลยว่าวันนี้ข้อของคุณเอง อยู่ในสภาพไหนแล้ว ใกล้เสื่อมรึยัง? หรือแค่กำลังอักเสบในขั้นต้น และด้วยเหตุผลที่ยกมานี้เป็นเหตุผลที่ทำให้ “ข้อ” ไม่ได้รับความสนใจเอาใจใส่เท่าที่ควร ทั้งๆที่เป็นเรื่องสำคัญ

รักษาข้อเสื่อม ดูแลและบำรุงข้อกระดูกให้แข็งแรงด้วย Deer

เพราะคงไม่มีใครอยากอายุยืนยาวแต่ไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้เพราะข้อไม่ดี ก้าวเดินแต่ละทีแสนทรมาน ประมาณเหมือนเดินอยู่บนตะปูแหลม

และในที่สุดก็ต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเพื่อให้เดินได้ แต่สุดท้ายยังไงข้ออะไหล่ก็ไม่ยืดหยุ่นลื่นไหลเหมือนข้อที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดอยู่ดี

…คนรักกัน ยิ่งอยู่ด้วยกันนาน กลับไม่ค่อยดูแลเอาใจใส่กันฉันใด..

“ข้อ” และอวัยวะต่างๆของร่างกายก็ไม่ค่อยได้รับการเหลียวแล ฉันนั้น…

เมื่อคุณอ่านถึงตรงนี้ ก็ขอแสดงความยินดีกีบ “ข้อ” ของคุณด้วย.. เพราะนั่นแปลว่า คุณเริ่มสนใจข้อของคุณแล้วล่ะ..

เคยได้ยินเสียงจากข้อเวลาทำกิจกรรมต่างๆไหมครับ? เช่น เสียงขณะหักข้อนิ้วและข้อมือ เสียงจากเข่าขณะกำลังลุกหรือยืดขา เสียงจากข้อเท้าเวลาขยับข้อเท้า เสียงจากกระดูกต้นคอเวลาหมุนคอ เป็นต้น

แพทย์เองมักได้รับคำถามจากคนไข้และคนรอบตัวอยู่เสมอว่า เสียงเหล่านี้เกิดจากอะไรเละมีอันตรายหรือไม่? จำเป็นต้องไปตรวจเพิ่มเติมไหม?

ประเภทของข้อต่อที่เกิดเสียงได้ง่ายคือ ไดอาร์โทรไดอัลจอยต์ (Diarthrodial Joint) ซึ่งพบมากที่สุดในร่างกาย ข้อต่อประเภทนี้ประกอบไปด้วยกระดูกสองชิ้นมาบรรจบกันตรงผิวกระดูกอ่อน

ข้อต่อกระดูกและวิธีดูและข้อกระดูก

โดยมีปลอกหุ้มข้อ (Joint Capsule) ห่อหุ้มผิวกระดูกอ่อนอยู่ภายในปลอกหุ้มข้อต่อจะมีของเหลวที่ใช้หล่อลื่นข้อต่อเรียกว่า น้ำไขข้อ (Synovial Fluid) ซึ่งมีก๊าซ เช่นออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่

สำหรับข้อต่อที่หักแล้วเกิดเสียงได้ง่ายที่สุดก็คือ ข้อนิ้วมือของเรานั่นเองครับ

เสียงก๊อบแก๊บ กรอบแกรบ !

เสียงจากข้อนั้นเกิดได้ทั้งในกระดูกคอ นิ้ว หลัง เละข้อเท้า ซึ่งมีสาเหตุอยู่มากมายเช่น

1. เกิดจากก๊าซในน้ำไขข้อกลายเป็นฟอง เนื่องจากขณะที่หักข้อนิ้วมือ ปลอกหุ้มข้อต่อจะถูกยืดขยายออก ทำให้แรงดันในข้อลดลง ก๊าซที่ละลายอยู่ในน้ำไขข้อจะผุดเป็นฟอง

แล้วรวมตัวกันเป็นฟองก๊าซขนาดใหญ่ และเมื่อยืดข้อต่อออกไปอีก น้ำไขข้อจะไหลกลับเข้าสู่ข้ออีกครั้ง ทำให้ฟองก๊าซขนาดใหญ่นี้ยุบลงเป็นฟองขนาดเล็กอย่างรวดเร็ว

ทำให้เกิดเสียงดังขึ้นภายในท่อนั่นเอง และเสียงจากการหักข้อนิ้วจะเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อฟองก๊าซได้ละลายอยู่ในไขข้อแล้ว ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15 นาที

2. เกิดจากการเคลื่อนไหวของข้อ กระดูกอ่อนและเอ็นรอบๆข้อ ซึ่งทำให้เกิดเสียงได้ มักจะเป็นบริเวณข้อเข่าและข้อเท้า

3. ข้อเสื่อม ทำให้พื้นที่ผิวข้อขรุขระ เมื่อมีการเสียดสีกันจะทำให้เกิดเสียงกรอบแกรบได้

นอกจากนี้ยังมีเสียงหรือความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งทีเกิดขึ้นเวลาขยับข้อขนาดใหญ่ ภาษาอังกฤษเรียกว่า เครพิทุส (Crepitus) ซึ่งเราสามารถสังเกตอาการนี้ได้โดยการวางฝ่ามือไว้ที่ข้อ และขยับข้อนั้นไปมา สังเกตความรู้สึกบริเวณฝ่ามือ ซึ่งแบ่งได้เป็นสองแบบคือ

  • แบบละเอียด(Fine Crepitus)  เป็นความรู้สึกคล้ายการใช้นิ้วมือขยี้เส้นผม เกิดจากการบดขยี้เส้นผม เกิดจากการบดขยี้ของเยื่อบุผิวที่หนาตัวขึ้นจากการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์และวัณโรคข้อ
  • แบบหยาบ(Coarse Crepitus) ลักษณะคล้ายมีเสียงกุกกักหรืออาจได้ยินเสียงลั่นในข้อขณะตรวจ เกิดการเสียดสีของผิวกระดูกอ่อนที่ขรุขระ หรือมีเศษกระดูกอ่อนชิ้นเล็กๆหลุด

และแขวนลอยอยู่ภายในข้อ พบบ่อยในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหรือโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ในระยะท้ายๆ ที่ผิวกระดูกอ่อนถูกทำลายอย่างรุนแรง

ในคนปกติอาจตรวจพบได้ไม่บ่อยนัก เกิดจากเส้นเอ็นรอบๆพลิกในระหว่างเหยียดหรืองอข้อต่อ สำหรับคนที่ชอบหักนิ้วข้อมือเพื่อให้เกิดเสียงนั้น

จากการสำรวจในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ประชากรร้อยละ 25-50 ชอบหักข้อนิ้วให้เกิดเสียงก๊อบแก๊บ โดยข้อกลางนิ้วและข้อโคนนิ้วเป็นข้อที่นิยมหักมากที่สุด ส่วนข้อปลายนิ้วและข้อโคนนิ้วโป้งไม่ค่อยมีการหัก

หักข้อนิ้วมือ อันตราย!

หักนิ้วบ่อยทำให้ข้อเสื่อมได้

เมื่อศึกษาเปรียบเทียบผู้ที่มีข้อนิ้วเสื่อมกับคนปกติ พบว่า การหักข้อนิ้วมือไม่สัมพันธ์กับการเกิดโรคข้อนิ้วเสื่อม โดยข้อที่เสื่อมมักเป็นข้อปลายนิ้วซึ่งไม่ค่อยโดนหัก

นอกจากนี้จำนวนครั้งในการหักนิ้ว ก็ไม่สัมพันธ์กับการเกิดโรคข้อนิ้วเสื่อม แต่ปัจจัยที่สำคัญกับการเกิดข้อนิ้วเสื่อม ได้แก่ อายุ โดยอายุที่เพิ่มมากขึ้นและหากมีคนในครอบครัวเป็นโรคนิ้วเสื่อมก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นด้วย

แม้ว่าการหักข้อนิ้วจะไม่ทำให้ข้อนิ้วเสื่อมมากขึ้นก็ตาม แต่ก็มีการศึกษาหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า การหักข้อนิ้วมือบ่อยๆ มีผลต่อการทำงานของนิ้วมือโดยจะทำให้เอ็นรอบข้อไม่แข็งแรง

และส่งผลให้กำลังในการบีบมือลดลงรวมถึงทำให้ข้อต่างๆ และมือเกิดอาการบวมได้ง่ายกว่าปกติอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าการหักนิ้วอาจทำให้เอ็นขาดได้

เป็นการทำลายข้อและทำให้มีแคลเซียมมาเกาะที่เอ็นรอบข้อมากขึ้น ดังนั้นการหักข้อนิ้วเป็นประจำจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง

เสียงในข้อส่ออันตราย

เสียงก๊อบแก๊บ กรอบแกรบ มีอันตรายหรือไม่? มีวิธีสังเกตง่ายๆดังนี้

1. สังเกตว่ามีอาการเจ็บปวดหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้งานข้อ เช่น การเดินลงน้ำหนัก งอหรือเหยียดข้อ หากมีอาการเจ็บปวดอาจเกิดจากข้อเสื่อมหรือเอ็นอักเสบ ควรไปพบแพทย์

2. สังเกตข้อที่มีเสียงนั้นว่ามีการบวมรวบๆข้อหรือไม่ หากมีอาการบวมและแดง ก็ควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจจะเป็นโรคข้ออักเสบได้

3. สังเกตว่ามีการผิดรูปของข้อหรือไม่ เช่น ข้อโตขึ้น ข้อโกงขึ้น มีก้อนหรือกระดูกแข็งยื่นออกมาหรือเปล่า กรณีนี้ควรไปพบแพทย์เช่นกัน

แมงกานีส กับ ข้อเสื่อม

แมงกานีสเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งพบได้ทั่วไปในอาหารจำพวก ถั่ว เมล็ดพืช จมูกข้าว ธัญพืชทั้งเมล็ด ถั่วฝัก และสับปะรด

ขนาดของแมงกานีสที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันจะแตกต่างกันไป ตามเพศ อายุ และสภาวะของร่างกาย (ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร) โดยผู้ที่มีอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับแมงกานีส วันละ2-2.6มิลลิกรัม

ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นเอนไซม์ ที่จำเป็นต่อกระบวนการนำไบโอติน วิตามินบี1 วิตามินซี มาใช้ประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นโคแฟกเตอร์สำคัญในการผลิตไกลโคซามิโนไกลแคนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆในร่างกาย กระดูก และเส้นเลือดแดง

มีความสำคัญต่อโครงสร้างกระดูก มีความสำคัญต่อกระบวนการย่อยอาหารเพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ อีกทั้งจำเป็นต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์และระบบประสาท และการสร้างไทรอกซินซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักของต่อมไทรอยด์ 

แมงกานีสเป็นแร่ธาตุที่พบได้ในกระดูก ตับ ไต และตับอ่อน และยังเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน กระดูก รวมถึงสารเกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด และฮอร์โมนเพศ

นอกจากนี้แมงกานีสยังเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงคาร์โบไฮเดรตและไขมัน การดูดซึมแคลเซียม การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การทำงานของสมองและระบบประสาท

แมงกานีสยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของเอ็นไซม์ที่ทำหน้าที่กำจัดอนุมูลอิสระอีกด้วย เนื่องจากแมงกานีสเป็นแร่ธาตุพบได้ทั่วไปในอาหาร อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหารพวกธัญพืชผ่านการขัดสี

อาจทำให้ร่างกายได้รับแมงกานีสในปริมาณน้อยการความต้องการของร่างกาย ซึ่งหากร่างกายขาดแมงกานีสอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก กระดูดผิดรูป อ่อนเพลีย และลมชัก

ที่สำคัญการได้รับแมงกานีสมากหรือน้อยเกินไประหว่างตั้งครรภ์อาจส่งผลให้พัฒนาการทางระบบประสาทของทารกผิดปกติได้

แมงกานีสมีจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาดในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยอาจอยู่ในรูปของเกลือแมงกานีส เช่น แมงกานีสซัลเฟต แมงกานีสกลูโคเนต  หรืออยู่ในรูปที่จับกับสารโมเลกุลใหญ่

เช่น แมงกานีสแอสพาร์เตต ฟูมาเรต ซิเตรต ทั่วไปมักพบจำหน่ายในรูปวิตามินและเกลือแร่รวม และการรับประทานแมงกานีส ไม่ควรรับประทานแมงกานีสเกินวันละ 10 มิลลิกรัม

เนื่องจากการได้รับแมงกานีสเกินขนาด อาจทำให้ระบบประสาทถูกทำลายซึ่งอาจมีอาการคล้ายโรคพาร์กินสันได้

แมงกานีสเกิดปฏิกิริยาเมื่อรับปะทานในขณะที่ใช้ยาด้านจิตเภท (เช่น haloperidol)ได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเภททีมีที่มีโรคตับร่วมด้วยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาพหลอน

ขณะใช้ยาร่วมกับแมงกานีส ยาลดกรด ยาระบาย และยาปฏิชีวนะบางชนิด (เช่น doxycycline หรือ norfloxacin) สามารถลดการดูดซึมแมงกานีสและในทางกลับกัน

แมงกานีสสามารถลดการดูดซึมยาปฏิชีวนะดังกล่าวได้ จึงควรรับประทานแมงกานีสร่วมกับยาดังกล่าวให้ห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อลดการทำปฏิกริยาร่วมกับยา

แมงกานีสเป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อสมดุลแคลเซียมในร่างกาย ดังนั้นผู้ที่มีอาการข้อเสื่อมหรือกระดูกพรุน จึงควรได้รับแมกนีเซียมร่วมไปกับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมและนำแคลเซียมไปใช้ได้ดียิ่งขึ้น

ยิ่งอ้วน ยิ่งเสี่ยง ‘ข้อเสื่อม’

อ้วนลงพุง ลดน้ำหนัก ลดหน้าท้อง เพื่อบำรุงอาการข้อเสื่อม

วิธีการวัดว่าคุณอ้วนหรือยัง? แบบง่ายๆทำได้โดยการเอาน้ำหนักตัวมาหารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง ซึ่งภาษาทั่วไปเรียกวิธีการนี้ว่า การวัดดัชนีมวลกาย(ฺBMI) เป็นการวัดเพื่อหาค่าน้ำหนักที่คุณควรจะมี

หากได้ผลเกิน 23 ก็แปลว่า คุณอยู่ในภาวะน้ำหนักเกินและมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ แต่หากตัวเลขออกมามากว่า 25 ก็ถือว่าเข้าข่ายภาวะโรคอ้วน ซึ่งเท่ากับเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆมากขึ้นได้

ทีนี้มาดูกันคร่าวๆว่า คนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงนั้นเสี่ยงต่อโรคอะไร? แค่ไหนบ้าง?

  • เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่า
  • เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง 3.5 เท่า
  • เสี่ยงต่อโรคข้อเข่าเสื่อม 1.5 เท่า
  • โรคเกาต์ 2.5 เท่า
  • เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดถึง 5 เท่า
  • ฮอร์โมนผิดปกติ มีโอกาสเป็นหมันสูงถึง 3 เท่า
  • เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง
  • เสี่ยงต่อโรคนิ่วในถุงน้ำดี

ดูจากความเสี่ยงเหล่านี้ คุณคิดว่าถึงเวลาที่ต้องปฏิวัติตัวเองแล้วหรือยัง ?

Fat-checking

ยิ่งน้ำหนักเกินก็ยิ่งเจ็บปวดเพราะแต่ละก้าวเดินของคนที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ จะเพิ่มน้ำหนักลงบนหลัง เข่า และสะโพกอีกถึง 2 เท่า เคยมีการศึกษาพบว่า คนที่น้ำหนักตัวมากเกินไปจะมีความเสี่ยงต่อการเกิด โรคข้อเสื่อมถึง 4 เท่าทีเดียว

ผู้ชายที่สามารถลดน้ำหนักตัวให้ลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติได้ สามารถลดอัตราการเกิดโรคข้อเสื่อมลงได้มากกว่า 21 % ในขณะที่ผู้หญิงจะลดการเกิดโรคได้ถึง 35 %

ลดน้ำหนักช่วยรักษาข้อ

ลดความอ้วน ช่วยลดอาการข้อเสื่อม

น้ำหนักเกินไม่ใช่สาเหตุโดยตรงของการเกิดอาการปวด แต่เป็นอุปสรรคต่อการบรรเทาปวดอย่างยิ่ง เพราะน้ำหนักที่มากเกินไป จะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น การควบคุมน้ำหนักจึงเป็นไปเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการปวด

แม้การควบคุมน้ำหนักไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผู้ที่มีปัญหา ข้อเสื่อม ข้ออักเสบ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาในการควบคุมอาหารอย่างต่อเนื่อง

หลายคนที่ไม่นิยมการออกกำลังกายมักถามว่า มีความเป็นไปได้มั๊ยที่จะลดน้ำหนักด้วยอาหารเพียงอย่างเดียว แล้วไม่ต้องออกกำลังกาย? คำตอบก็คือ “ถึงแม้จะได้แต่ก็ไม่แนะนำ”.. เพราะพบว่าการออกกำลังกายร่วมกับการควบคุมอาหารจะช่วยลดน้ำหนักได้ดียิ่งขึ้น

ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญในการบรรเทาอาการข้อเสื่อมและข้ออักเสบ อีกอย่างการออกกำลังกายก็มีประโยชน์กับข้อและส่วนประกอบต่างๆมากมาย ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว ช่วยชะลอการเกิดภาวะข้อเสื่อมได้

และหากเกิดข้ออักเสบขึ้นมาก็จะช่วยลดอาการได้ ทำให้ไม่ต้องรีบรักษาโดยการผ่าตัดข้อ จึงสามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพได้

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย

  • ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เพราะช่วยลดไขมันในเลือดได้
  • เพิ่มไขมันชนิด HDL ในเลือด ซึ่งถ้ายิ่งสูงก็ยิ่งดี เพราะจะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้
  • ป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน
  • ป้องกันกระดูกเปราะ โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
  • ช่วยให้หัวใจ ปอด ระบบหมุนเวียนเลือด กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ กระดูก ผิวหนังแข็งแรงมากขึ้น
  • ช่วยให้นอนหลับ และมีความจำดีขึ้น
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

ดังนั้นไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ก็อยากให้ลองตื่นแต่เช้าเพื่อรับวิตามินดีจากแสงแดดอ่อนๆ พร้อมกับการวิ่ง เดิน หรือ ออกกำลังกายวันละเล็กน้อยเพื่อต่อเวลาให้กับ”ข้อ” และ “ร่างกาย”ของคุณเองนะครับ

อาการที่บ่งบอกว่า “ข้อเสื่อม”

  • เดินหรือขยับร่างกายแล้วเกิดเสียงดังเป็นประจำ
  • มีการปวดข้อ ข้อฝืด แม้ไม่ได้ใช้งานข้อเป็นเวลานาน หรือแบบเป็นๆ หายๆ
  • รู้สึกมีอาการข้อขัดตึงหลังตื่นนอน หรือหลังจากพักอยู่นิ่งๆ
  • เคลื่อนไหวร่างกายได้ช้าลง รู้สึกว่าร่างกายไม่ยืดหยุ่น ข้อตึงหรือหมุนแขน ขา ได้ด้วยองศาที่น้อยลง
  • มักรู้สึดปวดตอนเช้าๆ แรกๆออกกำลังกายแล้วก็หายปวด แต่พอเป็นมากขึ้น ยิ่งออกกำลังกายจะยิ่งปวด
  • รูปร่างของข้อมีลักษณะผิดไปจากแต่ก่อน มีข้อโก่ง หรือบิดเบี้ยว
  • รู้สึกกล้ามเนื้อรอบข้ออ่อนแรงลง เวลาเคลื่อนไหวจะยิ่งปวดมากขึ้น

ดังนั้นหากคุณเริ่มมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณข้อโดยเฉพามื่อมีอาการปวด ควรรีบปรึกษาแพทย์ให้แพทย์วินิจฉัยเสียแต่เนิ่นๆ

เพราะการปล่อยทิ้งไว้นานรังแต่จะทำให้คุณเจ็บปวดมากขึ้นและมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อแต่ละประเภทเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย

แม้แต่ในผู้ที่ไม่มีอาการเลยก็อย่าชะล่าใจ เพราะอาการข้ออักเสบจาก ‘ข้อเสื่อม’ นั้นเป็นการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นตามสังขารที่เสื่อมโทรมของร่างกาย

ฉะนั้นการดูแลข้อที่ถูกต้องจะช่วยประคับประคองสภาพร่างกายให้เสื่อมได้ช้าลง และหากเกิดอาการเจ็บป่วยก็จะไม่รุนแรงจนเกินไป ความผิดปกติของกระดูกและข้ออาจไม่ได้ส่งผลต่อความเป็นความตายของคน

แต่มีผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การรักษาความผิดปกติที่เกี่ยวกับกระดูกและข้อจำเป็นต้องใช้เวลา และบางคนปล่อยปะละเลยจนสุดท้ายกลายเป็นข้อเสื่อม

โดยเฉพาะโรค‘ข้อเข่าเสื่อม’ ที่เป็นอาการของโรคที่คนนิยมเป็นกันมาก

วิธีรักษา ข้อเสื่อม โรคข้อต่างๆ

โรคข้อเข่าเสื่อมมีการดำเนินโรคที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนหลังจากเริ่มมีอาการเพียง 1-2 ปี ประสิทธิภาพของข้อเข่าก็ลดลงอย่างมาก จนเกิดอาการผิดรูปและเกิดความพิการตามมา แต่บางรายมีอาการมากในช่วงแรก แต่หลังจากนั้นก็คงที่ ไม่รุนแรง

การดำเนินไปของโรคขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วย เช่น การใช้งานมาก น้ำหนัก หรือมีโครงสร้างข้อเข่าผิดปกติอยู่แล้ว กล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรง เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการทำลายข้อเข่าอย่างรวดเร็วขึ้นแต่ส่วนใหญ่แล้วการดำเนินโรคมักค่อยเป็นค่อยไปและใช้เวลาหลายปี

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมประจำวันให้เหมาะสม เช่น การออกกำลังกาย การกินอาหาร การคุมน้ำหนัก จะช่วยให้การดำเนินไปของโรคช้าลงหรืออาจหายป่วยได้

เดียร์ อาหารเสริมบำรุงกระดูกและข้อ Deer ลดอาการปวดข้อ ข้อเสื่อม

บทความที่น่าสนใจ

error: do not copy content!!